ผ้าพันคอลูกเสือ และผ้าพันคอเนตรนารี เป็นผ้ารูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐานกว้าง 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร ใช้สีผ้าพันคอลูกเสือตามเขตของลูกเสือตามภาคการศึกษาที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวสังกัดอยู่ และติดตราประจำจังหวัด เวลาใส่สวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (ที่ไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
ดังนั้น รายละเอียดของผ้าพันคอลูกเสือ-เนตรนารี จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สีผ้าพันคอลูกเสือ, ตราประจำจังหวัดของลูกเสือ, และวอคเกิ้ลลูกเสือ-เนตรนารี
ทั้งนี้ การซื้อผ้าพันคอลูกเสือและการซื้อผ้าพันคอเนตรนารีโดยทั่วไปไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลกับสีผ้าพันคอลูกเสือ และตราประจำจังหวัดของลูกเสือแต่อย่างใด เนื่องจากในปัจจุบันผ้าพันคอลูกเสือและผ้าพันคอเนตรนารีเป็นแบบสำเร็จรูปที่มีการติดตราประจำจังหวัดของลูกเสือมาบนผ้าพันคอสีที่ถูกต้องอยู่แล้ว การเลือกซื้อผ้าพันคอลูกเสือ-เนตรนารีเพียงแค่เลือกซื้อให้ถูกจังหวัดของโรงเรียนหรือสถานศึกษาของลูกเสือหรือเนตรนารีก็เพียงพอแล้ว
สีผ้าพันคอลูกเสือ และ สีผ้าพันคอเนตรนารี
สีผ้าพันคอลูกเสือ และ สีผ้าพันคอเนตรนารี ที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กฎกระทรวงฉบับที่ 1 พ.ศ. 2510 ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 25071 ได้กำหนดให้แบ่งสีของผ้าพันคอตามเขตของกิจการลูกเสือ ซึ่งเป็นการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา 12 เขตในอดีต ได้แก่ เหลือง สีเขียว สีตองอ่อน สีฟ้า สีน้ำเงิน สีแดง สีม่วง สีบานเย็น สีเลือดหมู สีชมพู สีแสด และสีไพล
สีผ้าพันคอลูกเสือ แต่ละจังหวัด ตามเขตพื้นที่การศึกษา
- เขตที่ 1 – สีเหลือง
- เขตที่ 2 – สีเขียว
- เขตที่ 3 – สีตองอ่อน
- เขตที่ 4 – สีฟ้า
- เขตที่ 5 – สีน้ำเงิน
- เขตที่ 6 – สีแดง
- เขตที่ 7 – สีม่วง
- เขตที่ 8 – สีบานเย็น
- เขตที่ 9 – สีเลือดหมู
- เขตที่ 10 – สีชมพู
- เขตที่ 11 – สีแสด
- เขตที่ 12 – สีไพล
โดยทั้ง 12 เขต เป็นการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาในปี พ.ศ. 2516 แม้ว่าในปัจจุบันการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาจะถูกเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และใช้มาจนถึงปัจจุบันเพื่อลดความซ้ำซ้อนจากการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาในอดีต
ผ้าพันคอลูกเสือสีเหลือง – เขตที่ 1
- กรุงเทพมหานคร
- นครปฐม
- นนทบุรี
- ปทุมธานี
- สมุทรปราการ
- สมุทรสาคร
ผ้าพันคอลูกเสือสีเขียวแก่ – เขตที่ 2
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- ยะลา
- สตูล
ผ้าพันคอลูกเสือสีเขียวตองอ่อน – เขตที่ 3
- ชุมพร
- นครศรีธรรมราช
- พัทลุง
- สงขลา
- สุราษฎร์ธานี
ผ้าพันคอลูกเสือสีฟ้า – เขตที่ 4
- กระบี่
- ตรัง
- พังงา
- ภูเก็ต
- ระนอง
ผ้าพันคอลูกเสือสีน้ำเงิน – เขตที่ 5
- กาญจนบุรี
- ประจวบคีรีขันธ์
- เพชรบุรี
- ราชบุรี
- สมุทรสงคราม
- สุพรรณบุรี
ผ้าพันคอลูกเสือสีแดง – เขตที่ 6
- ชัยนาท
- พระนครศรีอยุธยา
- ลพบุรี
- สระบุรี
- สิงห์บุรี
- อ่างทอง
- อุทัยธานี
ผ้าพันคอลูกเสือสีม่วง – เขตที่ 7
- กำแพงเพชร
- ตาก
- นครสวรรค์
- พิจิตร
- พิษณุโลก
- เพชรบูรณ์
- สุโขทัย
- อุตรดิตถ์
ผ้าพันคอลูกเสือสีบานเย็น – เขตที่ 8
- เชียงใหม่
- น่าน
- พะเยา
- แพร่
- แม่ฮ่องสอน
- ลำปาง
- ลำพูน
ผ้าพันคอลูกเสือสีแดงเลือดหมู – เขตที่ 9
- ขอนแก่น
- บึงกาฬ
- เลย
- สกลนคร
- หนองคาย
- หนองบัวลำภู
- อุดรธานี
ผ้าพันคอลูกเสือสีชมพู – เขตที่ 10
- กาฬสินธุ์
- นครพนม
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- ยโสธร
- ร้อยเอ็ด
- อำนาจเจริญ
- อุบลราชธานี
ผ้าพันคอลูกเสือสีแสด – เขตที่ 11
- ชัยภูมิ
- นครราชสีมา
- บุรีรัมย์
- ศรีสะเกษ
- สุรินทร์
ผ้าพันคอลูกเสือสีไพล – เขตที่ 12
- จันทบุรี
- ฉะเชิงเทรา
- ชลบุรี
- ตราด
- นครนายก
- ปราจีนบุรี
- ระยอง
ตราประจำจังหวัดบนผ้าพันคอลูกเสือ เนตรนารี
ผ้าพันคอลูกเสือแต่ละจังหวัด และ ผ้าพันคอเนตรนารีแต่ละจังหวัด จะมีตราประจำจังหวัดที่แตกต่างกันในแต่ละจังหวัดในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยตราประจังหวัดในผ้าพันคอลูกเสือและผ้าพันคอเนตรนารีนั้นจะดัดแปลงมาจากภาพของตราประจำจังหวัดในแต่ละจังหวัดของไทย
ดังนั้นแล้ว นอกเหนือจากสีผ้าพันคอลูกเสือที่แตกต่างกันตามเขตพื้นที่การศึกษา (แบบเก่า) ทั้ง 12 เขตพื้นที่การศึกษา อีกส่วนหนึ่งของผ้าพันคอลูกเสือที่อาจแตกต่างกันได้ คือ ตราประจำจังหวัดบนผ้าพันคอลูกเสือ-เนตรนารี เหล่านี้นั่นเอง
ผ้าพันคอเนตรนารี กับผ้าพันคอลูกเสือ ต่างกันหรือไม่?
ผ้าพันคอเนตรนารี จะมีแบบเหมือนกับผ้าพันคอลูกเสือทุกประการ ทั้งสีผ้าพันคอลูกเสือ และตราประจำจังหวัดที่ติดที่ด้านหลังของผ้าพันคอของเนตรนารี
โดยมีเพียงวอคเกิ้ลเนตรนารีที่จะแตกต่างออกไปจากลูกเสือ
วอคเกิ้ลลูกเสือ และ วอคเกิ้ลเนตรนารี
วอคเกิ้ลลูกเสือ คือ ปลอกรัดที่ใช้รัดผ้าพันคอของลูกเสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย วอคเกิ้ลลูกเสือ และ วอคเกิ้ลเนตรนารีทำจากวัสดุหลากหลายชนิด และไม่ใช่วอคเกิ้ลแบบห่วงกิลเวลล์
โดยรูปแบบที่ใช้ในลูกเสือและเนตรนารีโดยทั่วไปจะเป็นวอคเกิ้ลลูกเสือ และ วอคเกิ้ลเนตรนารี แบบโลหะตามภาพประกอบด้านบน (ทั้งนี้คุณอาจจะต้องสอบถามโรงเรียนหรือสถานศึกษาถึงรูปแบบวอคเกิ้ลที่ใช้)
จากภาพประกอบด้านบน วอคเกิ้ลลูกเสือ และ วอคเกิ้ลเนตรนารี ที่มีลักษณะแบนจะเป็นวอคเกิ้ลสำหรับลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ และสำหรับเนตรนารีสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ
ส่วนวอคเกิ้ลลูกเสือ และ วอคเกิ้ลเนตรนารี แบบห่วงโลหะ (แบบกลม) จะเป็นวอคเกิ้ลสำหรับลูกเสือสำรอง
การอ้างอิง
- กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กฎกระทรวงฉบับที่ 1 พ.ศ. 2510 ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 ↩︎
- ภาพสีเขตลูกเสือ และตราลูกเสือในแต่ละจังหวัดจาก Wikipedia โดยมองโกเลีย๔๔ และ นิติรัฐ เกตุแก้ว ↩︎