ชุดลูกเสือ ในบทความนี้จะเป็นการแต่งกายของลูกเสือด้วยเครื่องแบบลูกเสือทั่วไป (บ้างเรียกว่าลูกเสือเสนา) หรือ ชุดลูกเสือสีกากีที่สามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด ซึ่งในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 3 ประเภทตามระดับช่วงชั้นและช่วงอายุของลูกเสือ คือ ลูกเสือสามัญ (ป.4 – ป.6) ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ม.1 – ม.3) และลูกเสือวิสามัญ (ม.4 และ ปวช. 1 ขึ้นไป)
ชุดลูกเสือ หรือ เครื่องแบบลูกเสือ ทั้ง 3 ประเภทจะมีลักษณะโดยรวมที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียดของเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือบางรายการ ได้แก่ อินทรธนูลูกเสือที่ต่างกันในชุดลูกเสือแต่ละประเภท หมวกของชุดลูกเสือแต่ละประเภท และพู่ติดถุงเท้าของชุดลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่กับลูกเสือวิสามัญ
ในบทความนี้จะอ้างอิงตาม กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 และ “คู่มือเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ” ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการลูกเสือกรุงเทพมหานคร
ข้ามไปยังส่วนที่ต้องการ
ชุดลูกเสือสามัญ
ชุดลูกเสือสามัญ เป็นชุดเครื่องแบบลูกเสือในระดับ ป.4 ป.5 และ ป.6 (ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย) ซึ่งเป็นเครื่องแบบลูกเสือที่เปลี่ยนมาเป็นชุดลูกเสือสีกากี (หรือสีอื่นตามแต่ละเหล่า) เป็นระดับชั้นแรกในชั้น ป.4 จากเดิมที่เป็นชุดลูกเสือสำรองในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
(1) หมวกลูกเสือสามัญปีกกว้างสีกากี พับปีกข้างขวาขึ้นประดับด้วยดอกจันชั้นเดียว ทำด้วยผ้าสีตามสีประจำภาคศึกษาตามใบแนบ 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้ กลางดอกจันมีรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ทำด้วยโลหะสีทอง มีหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีน้ำตาลแก่กว้าง 2 เซนติเมตรพันรอบหมวก มีหัวขัดสีน้ำตาลแก่ด้านซ้ายปีกหมวกสองข้างเจาะรูสำหรับร้อยสายรัดด้านหลังศีรษะสายรัดทำด้วยเชือกถักสีเดียวกับหมวก ผูกเป็นปมไว้ข้างหลัง
- สีของดอกจันทำด้วยผ้าสีตามสีประจำภาคศึกษาที่โรงเรียนดังกล่าวสังกัดอยู่ (ตามใบแนบ 1 ท้ายกฎกระทรวง)
(2) เสื้อลูกเสือสีกากี คอพับ แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมเหนือเข็มขัด 4 ดุม อกมีกระเป๋าปะข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูปมนชายกลาแหลม เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร ปลายมนมีดุมที่ปลายอินทรธนูทางด้านคอด้านละ 1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ เวลาแต่งชุดลูกเสือให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
(3) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร
- สีตามสีประจำภาคศึกษาที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวสังกัดอยู่ (ตามแนบท้ายกฎกระทรวง)
- ติดตราประจำจังหวัด
- สวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (แต่ไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
(4) กางเกงสีกากี ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืนตรงห่างจากขาตั้งแต่ 8 – 12 เซนติเมตร ปลายขาพับเข้ากว้าง 5 เซนติเมตร ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า และมีหูร้อยเข็มขัดยาวไม่เกิน 6 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร
- กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 ระบุเอาไว้ว่า “ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน”
- แต่ในทางปฏิบัติชุดลูกเสือผู้ชายจะใช้กางเกงแบบซิบแบบเดียวกับกางเกงนักเรียนสีกากี
(5) เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
(6) ถุงเท้ายาวสีกากี พับขอบไว้ใต้เข่า ใต้พับขอบมีสายรัดถุง
(7) รองเท้าหนังสีน้ำตาลแก่ หรือ รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาลแก่ ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก
ชุดลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
ชุดลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เป็นเครื่องแบบลูกเสือในระดับ ม.1 – ม.3 หรือลูกเสือในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โดยทั่วไปการแต่งกายลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะมีลักษณะที่เหมือนกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ แต่มีการประดับอินทรธนูลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เพิ่ม การประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ การติดพู่สีเลือดหมูที่ถุงเท้าข้างละ 2 พู่ และเปลี่ยนเป็นหมวกลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ทรงอ่อนสีเลือดหมู
(1) หมวกทรงอ่อนสีเลือดหมู มีตราหน้าหมวกรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติทำด้วยโลหะสีทอง เวลาสวมให้ตราหน้าหมวกอยู่เหนือคิ้วซ้าย
(2) เสื้อลูกเสือสีกากี คอพับ แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมเหนือเข็มขัด 4 ดุม อกมีกระเป๋าปะข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูปมนชายกลาแหลม เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร ปลายมนมีดุมที่ปลายอินทรธนูทางด้านคอด้านละ 1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ เวลาแต่งชุดลูกเสือให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
- ติดอินทรธนูสีเลือดหมูปลายอินทรธนูมีอักษร ล.ญ. สีเหลือง
- ประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือตามที่โรงเรียนกำหนด
(3) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร
- สีตามสีประจำภาคศึกษาที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวสังกัดอยู่ (ตามแนบท้ายกฎกระทรวง)
- ติดตราประจำจังหวัด
- สวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (แต่ไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
(4) กางเกงสีกากี ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืนตรงห่างจากขาตั้งแต่ 8 – 12 เซนติเมตร ปลายขาพับเข้ากว้าง 5 เซนติเมตร ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า และมีหูร้อยเข็มขัดยาวไม่เกิน 6 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร
- กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 ระบุเอาไว้ว่า “ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน”
- แต่ในทางปฏิบัติชุดลูกเสือผู้ชายจะใช้กางเกงแบบซิบแบบเดียวกับกางเกงนักเรียนสีกากี
(5) เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
(6) ถุงเท้ายาวสีกากี พับขอบไว้ใต้เข่า ติดพู่สีเลือดหมูข้างละ 2 พู่
(7) รองเท้าหนังสีน้ำตาลแก่ หรือ รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาลแก่ ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก
ชุดลูกเสือวิสามัญ
ชุดลูกเสือวิสามัญ เป็นเครื่องแบบลูกเสือวิสามัญ ม.4 ม.5 และ ม.6 หรือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในบางโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนวิชาลูกเสือเนตรนารีวิสามัญ (โดยส่วนใหญ่จะเรียนเพียงแค่ชั้น ม.4 และในระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 1)
โดยการแต่งกายชุดลูกเสือวิสามัญจะคล้ายกับลูกเสือสามัญ เพียงแต่เปลี่ยนแบบของเป็นหมวกลูกเสือวิสามัญทรงอ่อนสีเขียว มีการประดับอินทรธนูลูกเสือวิสามัญ ติดพู่สีแดงข้างละ 2 พู่ที่ถุงเท้าลูกเสือ และการการประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือวิสามัญบางส่วนที่แตกต่างออกไป
(1) หมวกทรงอ่อนสีเขียว มีตราหน้าหมวกรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ทำด้วยโลหะสีทอง เวลาสวมให้ตราหน้าหมวกอยู่เหนือคิ้วซ้าย
(2) เสื้อลูกเสือสีกากี คอพับ แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมเหนือเข็มขัด 4 ดุม อกมีกระเป๋าปะข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูปมนชายกลาแหลม เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร ปลายมนมีดุมที่ปลายอินทรธนูทางด้านคอด้านละ 1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ เวลาแต่งชุดลูกเสือให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
- ติดอินทรธนูสีเขียว ปลายอินทรธนูมีอักษร ล.ว. สีเหลือง
- ประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือตามที่แต่ละโรงเรียนหรือสถานศึกษากำหนด
(3) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร
- สีตามสีประจำภาคศึกษาที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวสังกัดอยู่ (ตามแนบท้ายกฎกระทรวง)
- ติดตราประจำจังหวัด
- สวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (แต่ไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
(4) กางเกงสีกากี ขาสั้นเหนือเข่าประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนกว้างของขากางเกงเมื่อยืนตรงห่างจากขาตั้งแต่ 8 – 12 เซนติเมตร ปลายขาพับเข้ากว้าง 5 เซนติเมตร ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้างละ 1 กระเป๋า และมีหูร้อยเข็มขัดยาวไม่เกิน 6 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร
- กฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือ กฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2507 ระบุเอาไว้ว่า “ผ่าตรงส่วนหน้า ใช้ดุมขนาดย่อมขัดซ่อนไว้ข้างใน”
- แต่ในทางปฏิบัติชุดลูกเสือผู้ชายจะใช้กางเกงแบบซิบแบบเดียวกับกางเกงนักเรียนสีกากี
(5) เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
(6) ถุงเท้ายาวสีกากี พับขอบไว้ใต้เข่า ติดพู่สีแดงข้างละ 2 พู่
(7) รองเท้าหนังสีน้ำตาลแก่ หรือ รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาลแก่ ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก
ชุดลูกเสือวิสามัญ หญิง
ชุดลูกเสือวิสามัญหญิง เป็นเครื่องแบบลูกเสือผู้หญิงที่ใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนวิชาลูกเสือวิสามัญแต่ได้กำหนดให้นักเรียนหญิงแต่งชุดลูกเสือวิสามัญหญิงแทนชุดเนตรนารีวิสามัญ
ชุดลูกเสือวิสามัญหญิง มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับชุดลูกเสือวิสามัญของผู้ชาย แต่เปลี่ยนจากกางเกงเป็นกระโปรง และเปลี่ยนจากถุงเท้ายาวเป็นถุงเท้าสั้น (และไม่มีการติดพู่ลูกเสือ) ซึ่งคล้ายกับเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือวิสามัญ ผู้หญิง
(1) หมวกทรงอ่อนสีเขียว มีตราหน้าหมวกรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ทำด้วยโลหะสีทอง เวลาสวมให้ตราหน้าหมวกอยู่เหนือคิ้วซ้าย
(2) เสื้อลูกเสือสีกากี คอพับ แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุมเหนือเข็มขัด 4 ดุม อกมีกระเป๋าปะข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูปมนชายกลาแหลม เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้าง ด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร เย็บติดกับตะเข็บไหล่เสื้อ ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร ปลายมนมีดุมที่ปลายอินทรธนูทางด้านคอด้านละ 1 ดุม ดุมลักษณะกลมแบนทำด้วยวัตถุสีน้ำตาลแก่ เวลาแต่งชุดลูกเสือให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกางเกง
- ติดอินทรธนูสีเขียว ปลายอินทรธนูมีอักษร ล.ว. สีเหลือง
- ประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบลูกเสือตามที่แต่ละโรงเรียนหรือสถานศึกษากำหนด
(3) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร
- สีตามสีประจำภาคศึกษาที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวสังกัดอยู่ (ตามแนบท้ายกฎกระทรวง)
- ติดตราประจำจังหวัด
- สวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (แต่ไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
(4) กระโปรงสีกากี ทำด้วยผ้า ยาวครึ่งน่อง ไม่มีจีบ ไม่บาน
- ในบางสถานศึกษาอาจมีกำหนดให้แต่ชุดลูกเสือวิสามัญหญิง โดยกำหนดให้ใช้กระโปรงลูกเสือวิสามัญแบบมีจีบ
(5) เข็มขัดหนังสีน้ำตาล กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวชนิดหัวขัด ทำด้วยโลหะสีทอง มีลายดุนรูปตราคณะลูกเสือแห่งชาติภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์
(6) ถุงเท้าสั้นสีกากี พับสั้นเพียงข้อเท้า
(7) รองเท้าหนังสีน้ำตาลแก่ หรือ รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาลแก่ ไม่มีลวดลาย หุ้มส้นชนิดผูก
เครื่องหมายชุดลูกเสือ
เครื่องหมายประกอบชุดลูกเสือ จะแตกต่างกันในแต่ละระดับชั้นของลูกเสือ ตั้งแต่ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และเลูกเสือวิสามัญ อย่างไรก็ตามนอกจากการแต่งกายลูกเสือจะมีการประดับเครื่องหมายที่แตกต่างกันตามระดับชั้นแล้ว ยังอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีความเข้มงวดและจริงจังกับเครื่องหมายเหล่านี้ที่แตกต่างกัน โดยเครื่องหมายชุดลูกเสือเหล่านั้น ได้แก่
- ป้ายโรงเรียนที่แขนเสื้อชุดลูกเสือด้านขวา *
- ป้ายชื่อลูกเสือ *
- เข็มติดหน้าอกตราลูกเสือ *
- เครื่องหมายคติพจน์ลูกเสือ
- หมายเลขกลุ่ม/กอง
- เครื่องหมายประจำหมู่
- เครื่องหมายวิชาพิเศษ
- เครื่องหมายลูกเสือโลก
- เครื่องหมายนายหมู่/รองนายหมู่/พลาธิการ
- เครื่องหมายชั้นปี
- เครื่องหมายประจำการ
- ธงชาติ
* หมายถึง เครื่องหมายที่พบได้อย่างแน่นอนบนเครื่องแบบลูกเสือสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ ในทุกโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดๆ ก็ตาม
เพื่อประโยชน์ของนักเรียนหรือผู้ปกครองที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดลูกเสือ หรือ เครื่องแบบลูกเสือ ก่อนซื้อจากร้านค้าภายนอกหรือปักเครื่องหมายลงบนชุดลูกเสือ เราขอแนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจจากทางโรงเรียนหรือสถานศึกษา เกี่ยวกับรายการต่อไปนี้
- ป้ายชื่อใช้แบบใด? แบบปักหรือป้ายชื่อแบบเข็มกลัด และข้อกำหนดอย่างเช่นขนาดหรือสีอย่างไร
- รองเท้าใช้แบบใด? รองเท้าหนังหรือผ้าใบหรือรองเท้านักเรียน หรือแม้กระทั่งการอนุโลมใช้รองเท้าพละสีขาวสำหรับลูกเสือ
- ติดเครื่องหมายอะไรบ้าง? เช่น บางโรงเรียนที่ไม่ติดเครื่องหมายวิชาพิเศษใดเลยก็มี
- สีผ้าผูกคอและตราจังหวัด (มักจะไม่มีปัญหาหากซื้อหรือสั่งปักในร้านใกล้กับโรงเรียน)
- ป้ายชื่อโรงเรียน ที่บางครั้งซื้อจากนอกโรงเรียนอาจได้แบบที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง
- มีอุปกรณ์ประกอบเครื่องแบบอื่นๆ หรือไม่? เช่น เชือกลูกเสือ สายยงยศ และสายนกหวีด
อย่างไรก็ตาม รายการเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเหล่านี้ของชุดลูกเสือ หากซื้อจากทางโรงเรียนมักจะมีรายการเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบที่น่าจะครบถ้วนตามที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวใช้อยู่แล้ว