นิโรธ คืออะไร? เข้าใจการดับทุกข์ตามอริยสัจ

เมื่อ

โดย

ในหมวด

นิโรธ คือ การดับทุกข์ นิโรธ หมายถึง

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เพื่อที่ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง นิโรธจึงหมายถึงการทำลายสมุทัยและดับสมุทัยที่เป็นตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยการดำเนินตามมรรค

อธิบายให้ง่ายกว่านั้น นิโรธ คือความหมายว่าเมื่อทุกข์ได้ดับไปแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งในทางพุทธศาสนาได้อธิบายเอาไว้ว่าก็คือการไม่มีอะไรที่เป็นโลภะ โทสะ โมหะ ไม่ยึดติดสิ่งใด ซึ่งก็คือไม่มีสมุทัยที่เป็นเหตุของความทุกข์

ดังนั้นแล้ว การบรรลุนิโรธคือการเข้าถึงนิพพาน หรือการพ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิงนั่นเอง

ซึ่งแนวปฏิบัติที่จะทำให้เกิด นิโรธ หรือ ความทุกข์ดับไปได้นั้น เรียกว่า มรรค หรือที่หลายคนรู้จักกันว่า มรรค 8

นิโรธเป็นอริยสัจลำดับที่ 3 ในอริยสัจ 4 (ที่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)

นิโรธ ในภาษาอังกฤษว่า “Nirodha”

หนทางสู่นิโรธคือมรรค

แนวปฏิบัติที่นำไปสู่นิโรธหรือนำไปสู่ความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง เรียกว่า มรรค ซึ่งประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่

  1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) ความรู้ความเข้าใจในอริยสัจ 4 ที่เปรียบเสมือนภาพกว้างของทุกข์และการดับทุกข์
  2. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) ได้แก่ ความคิดในการออกจากกามปลอดจากโลภะ, อพยาบาทสังกัปป์ ความคิดที่ไม่พยาบาท, และอวิหิงสาสังกัปป์ ความคิดที่ไม่เบียดเบียน
  3. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ เรียกว่า วจีสุจริต 4
  4. สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) ละเว้นประพฤติชั่วทางกายทั้ง 3 ได้แก่ เว้นจากการฆ่า เว้นการเอาของที่เจ้าของไม่ให้ และเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
  5. สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) การเว้นจากมิจฉาชีพ ทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต
  6. สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) ได้แก่ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
  7. สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) การมีสติกำหนดระลึกรู้ว่าทำอะไรอยู่ในขณะปัจจุบัน
  8. สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) คือ ความตั้งใจมั่นโดยถูกทางและไม่ฟุ้งซ่าน

นิโรธและนิพพาน แตกต่างกันอย่างไร

แม้ว่านิโรธและนิพพานจะเป็นคำที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดในพระพุทธศาสนา แต่ทั้งสองคำมีความหมายที่แตกต่างกันเล็กน้อย การทำความเข้าใจความแตกต่างนี้จะช่วยให้เราเข้าใจนิโรธและนิพพานได้ดียิ่งขึ้น

โดยความแตกต่างระหว่างนิโรธและนิพพาน มีดังนี้

ลักษณะนิโรธนิพพาน
ความหมายความดับของทุกข์ความดับสนิทของกิเลสและทุกข์
สภาวะเกิดขึ้นได้ในขณะปฏิบัติสภาวะที่คงที่และเป็นอิสระ
ความเกี่ยวข้องเป้าหมายของการปฏิบัติผลที่ได้จากการบรรลุนิโรธ

เปรียบเทียบให้ง่ายกว่านั้น นิโรธเหมือนกับการดับไฟในห้อง แม้ไฟดับลงไปแล้วแต่เรายังอยู่ในห้องนั้น นิพพานเหมือนกับการออกจากห้องที่ไฟไหม้ไปแล้ว ออกมาสู่ที่ที่ไม่มีไฟ ไม่มีควัน และมีความสุขอย่างสมบูรณ์