เงื่อนพิรอด (Reef Knot หรือ Square Knot ในภาษาอังกฤษ) เป็นเงื่อนเชือกพื้นฐานที่มีลักษณะเป็นเงื่อนตายเมื่อดึงจนตึง โดยมีจุดเด่นที่ความง่ายต่อการเรียนรู้วิธีการผูกเงื่อนพิรอดและการนำไปใช้งาน ในขณะที่เงื่อนพิรอดเป็นเงื่อนที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการความแน่นหนา
โดยการใช้งาน เงื่อนพิรอด ควรใช้เป็นเงื่อนที่ใช้ผูกวัตถุชนิดเดียวกัน เช่น การผูกกับเชือกด้วยกันเชือกควรที่จะมีขนาดและความเหนียวของเชือกเท่ากัน เนื่องจากเงื่อนพิรอดเมื่อดึงจนตึงจะทำให้แก้ได้ยากและกลายเป็นเงื่อนตาย
ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยดังกล่าวจึงควรใช้เงื่อนพิรอดกับการผูกเชือกที่มีขนาดเดียวกันเพื่อป้องกันการถูกดึงจนตึงจากเชือกที่มีขนาดแตกต่างกัน
วิธีผูกเงื่อนพิรอด
วิธีผูกเงื่อนพิรอด มีขั้นตอนดังนี้
- นำเชือกเส้นหนึ่งวางทับเชือกอีกเส้นหนึ่ง
- นำปลายเชือกที่อยู่ด้านล่างพันรอบเชือกที่อยู่ด้านบน และนำปลายเชือกที่อยู่ด้านบนพันรอบเชือกที่อยู่ด้านล่าง
- สอดปลายเชือกที่อยู่ด้านบนเข้าไปในบ่วงที่พันรอบเชือกที่อยู่ด้านล่าง
- ดึงเชือกทั้งสองเส้นให้แน่น
จะเห็นว่าจากขั้นตอนการผูกเงื่อนพิรอด เงื่อนพิรอดเป็นเงื่อนในลักษณะที่ผูกง่ายคลายยากจากการที่มีโครงสร้างที่แข็งแรงที่เมื่อผูกแล้วจะคลายออกได้ยากทำให้มั่นใจได้ว่าสิ่งของที่ถูกมัดจะไม่หลุดง่าย ๆ จึงมักนิยมใช้ประโยชน์ในการต่อเชือก นอกเหนือจากการผูกมัด
เงื่อนพิรอด ประโยชน์
เงื่อนพิรอด ประโยชน์หลักในกิจกรรมลูกเสือเนตรนารีและการบุกเบิกคือการใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากันให้มีความยาวตามที่ต้องการ และการใช้เงื่อนพิรอดในการผูกผ้าพันแผลและผ้าสามเหลี่ยมในการปฐมพยาบาล
หรือในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่มีการใช้ผ้าปูที่นอนต่อกันเพื่อโรยตัวผู้ประสบภัยลงมาจากอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้เองก็ใช้เงื่อนพิรอดในการต่อผ้าปูที่นอนดังกล่าวด้วยเช่นกัน
นอกจากนั้น เงื่อนพิรอด ยังเป็นเงื่อนเชือกที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน เพียงแต่หลายคนไม่รู้ชื่อ ซึ่งการใช้ประโยชน์เงื่อนพิรอดในชีวิตประจำวัน ได้แก่
- ผูกเชือกผูกรองเท้า
- การผูกโบว์
- การต่อเชือกให้มีความแน่นหนา
- การผูกปลายเชือกในการมัดสิ่งของ
ทั้งนี้ ข้อควรระวังสำหรับการใช้เงื่อนพิรอดที่สำคัญ คือ แม้ว่าเงื่อนพิรอดจะเป็นเงื่อนที่แข็งแรง แต่ก็ไม่ควรใช้ในงานที่ต้องรับน้ำหนักมาก หรือในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดแรงเสียดทานสูง การเลือกใช้เงื่อนพิรอดจึงควรเลือกใช้เงื่อนกับงานที่เหมาะสมเช่นเดียวกันกับการเลือกใช้เงื่อนในงานอื่น ๆ เพื่อป้องกันการนำไปสู่อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
วิธีผูกเงื่อนอื่น ๆ ทั้งหมดมากกว่า 20 แบบ
- เงื่อนพิรอด
- เงื่อนกระหวัดไม้
- เงื่อนผูกร่น หรือ เงื่อนทบเชือก
- เงื่อนตะกรุดเบ็ด
- เงื่อนขัดสมาธิ หรือ เงื่อนหัก
- เงื่อนบ่วงสายธนู
- เงื่อนประมง
- เงื่อนเลข 8 หรือ ปมตาไก่
- เงื่อนผูกซุง
- เงื่อนผูกรั้ง
- เงื่อนเก้าอี้
- เงื่อนขโมย
- เงื่อนผูกกระดาน
- เงื่อนยายแก่
- เงื่อนผูกแน่น
- การผูกประกบ
- การผูกทแยง
- การผูกกากบาท
- การผูกตอม่อสะพาน