ชุดเนตรนารี ในบทความนี้จะเป็นการแต่งกายของเนตรนารีด้วยเครื่องแบบเนตรนารีทั่วไป (เนตรนารีเสนา) หรือ ชุดเนตรนารีสีเขียวที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 3 ประเภทตามระดับช่วงชั้นและช่วงอายุของเนตรนารี คือ เนตรนารีสามัญ (ป.4 – ป.6) เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ (ม.1 – ม.3) และเนตรนารีวิสามัญ (ม.4 และ ปวช. 1 ขึ้นไป)
อย่างไรก็ตาม ชุดเนตรนารี หรือ เครื่องแบบเนตรนารี ทั้ง 3 ประเภทจะมีลักษณะโดยรวมที่เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดของเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเนตรนารีบางรายการ อินทรธนูเนตรนารีที่แตกต่างกันในชุดเนตรนารีแต่ละประเภท และหมวกเนตรนารีวิสามัญที่แตกต่างจากหมวกที่ใช้ในชุดเนตรนารีสามัญและเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
โดยจะอ้างอิงข้อมูลจาก “คู่มือเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ตามกฎกระทรวงว่าด้วยเครื่องแบบลูกเสือของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ” ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการลูกเสือกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก “คำสั่งการปกครอง หลักสูตร วิชาพิเศษ และเครื่องแบบของเนตรนารี” ที่ออกตาม ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตร วิชาพิเศษ และเครื่องแบบของเนตรนารี ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2520 ไม่สามารถหามาอ้างอิงได้แล้วในปัจจุบัน
ข้ามไปยังส่วนที่ต้องการ
ชุดเนตรนารีมีกี่แบบ?
นอกจากนั้น ชุดเนตรนารี หรือ เครื่องแบบเนตรนารี ยังมีลักษณะแตกต่างกันแยกตามเหล่าของลูกเสือเนตรนารีทั้ง 3 เหล่า ได้แก่
- เนตรนารี (หรือบางคนอาจเรียกเนตรนารีเสนาหรือเหล่าเสนา) ชุดเนตรนารีสีเขียว
- เนตรนารีอากาศ ชุดเนตรนารีสีกรมท่า
- เนตรนารีสมุทร ชุดเนตรนารีสีกากีและชุดเนตรนารีสีขาว
โดยชุดเนตรนารีของเนตรนารีแต่ละเหล่าจะแตกต่างกันตามประเภทของเนตรนารีทั้ง 3 ประเภท คือ เนตรนารีสามัญ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ และเนตรนารีวิสามัญ
ทั้งนี้ สามารถดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ชุดเนตรนารีอากาศ (สีกรมท่า) และ ชุดเนตรนารีสมุทร (สีกากีและสีขาว)
หมายเหตุ: ยังไม่รวมในกรณีที่บางสถานศึกษากำหนดให้นักเรียนหรือนักศึกษาหญิงแต่งเครื่องแบบลูกเสือหญิงคล้ายเครื่องแบบผู้กำกับลูกเสือ
ชุดเนตรนารีสามัญ
ชุดเนตรนารีสามัญ เป็นเครื่องแบบเนตรนารีในระดับ ป.4 ป.5 และ ป.6 (ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย) ซึ่งเป็นเครื่องแบบเนตรนารีที่เปลี่ยนมาเป็นชุดเนตรนารีสีเขียว (หรือเหล่าอื่น) ในระดับชั้นแรก จากเดิมที่เป็นชุดเนตรนารีสำรองในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
(1) หมวกเนตรนารีแบบปีกแคบสีเขียวแก่ ทำด้วยผ้า ติดตราหน้าหมวกรูปเครื่องหมายเนตรนารีทำจากโลหะสีทอง เวลาสวมหมวกเนตรนารีให้ปีกหมวกด้านหลังพับขึ้น
(2) เสื้อแบบคอพับสีเขียวแก่ แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุม 4 เม็ด อกมีกระเป๋าข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูบมน เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้างด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร การแต่งเครื่องแบบเนตรนารีให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกระโปรง
- ประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเนตรนารีสามัญอื่นๆ ตามที่โรงเรียนกำหนด
(3) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร ติดเครื่องหมายจังหวัด สีผ้าพันคอตามเขตพื้นที่การศึกษา และสวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (ซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
(4) กระโปรงเนตรนารีสีเขียวแก่ ทำด้วยผ้า ยาวเสมอเข่า มีจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลังกึ่งกลาง 1 จีบ
(5) เข็มขัดหนังสีดำ กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวเข็มขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยโลหะสีทองมีลายดุนรูปเครื่องหมายเนตรนารี
(6) ถุงเท้าสีขาว พับสั้นเพียงข้อเท้า
(7) รองเท้าหนังสีดำแบบนักเรียน หรือ รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นชนิดผูกสีดำไม่มีลวดลาย
ชุดเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
ชุดเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เป็นเครื่องแบบเนตรนารีในระดับ ม.1 ม.2 และ ม.3 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น) โดยทั่วไปการแต่งกายเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่จะมีลักษณะที่เหมือนกับชุดเนตรนารีสามัญ แต่มีการประดับอินทรธนูเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่เพิ่ม และมีการประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่บางส่วนที่แตกต่าง
(1) หมวกเนตรนารีแบบปีกแคบสีเขียวแก่ ทำด้วยผ้า ติดตราหน้าหมวกรูปเครื่องหมายเนตรนารีทำจากโลหะสีทอง เวลาสวมหมวกเนตรนารีให้ปีกหมวกด้านหลังพับขึ้น
(2) เสื้อแบบคอพับสีเขียวแก่ แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุม 4 เม็ด อกมีกระเป๋าข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูบมน เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้างด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร การแต่งเครื่องแบบเนตรนารีให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกระโปรง
- ประดับอินทรธนูสีเลือดหมู ปลายอินทรธนูมีรูปเครื่องหมายเนตรนารีสีเหลือง กระดุมสีเขียว
- ประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่อื่นๆ ตามที่โรงเรียนกำหนด
(3) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร ติดเครื่องหมายจังหวัด สีผ้าพันคอตามเขตพื้นที่การศึกษา และสวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (ซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
(4) กระโปรงเนตรนารีสีเขียวแก่ ทำด้วยผ้า ยาวเสมอเข่า มีจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลังกึ่งกลาง 1 จีบ
(5) เข็มขัดหนังสีดำ กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวเข็มขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยโลหะสีทองมีลายดุนรูปเครื่องหมายเนตรนารี
(6) ถุงเท้าสีขาว พับสั้นเพียงข้อเท้า
(7) รองเท้าหนังสีดำแบบนักเรียน หรือ รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นชนิดผูกสีดำไม่มีลวดลาย
ชุดเนตรนารีวิสามัญ
ชุดเนตรนารีวิสามัญ เป็นเครื่องแบบเนตรนารีในระดับ ม.4 ม.5 และ ม.6 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) ในบางโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนวิชาลูกเสือเนตรนารีวิสามัญ และในระดับ ปวช. โดยการแต่งกายชุดเนตรนารีวิสามัญจะคล้ายกับเนตรนารีสามัญ เพียงแต่เปลี่ยนแบบของหมวกเป็นด้านข้างที่พับขึ้น มีการประดับอินทรธนูเนตรนารีวิสามัญเพิ่มเข้ามา และการการประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเนตรนารีวิสามัญบางส่วนที่แตกต่าง
(1) หมวกเนตรนารีวิสามัญแบบปีกแคบสีเขียวแก่ ทำด้วยผ้า ติดตราหน้าหมวกรูปเครื่องหมายเนตรนารีทำจากโลหะสีทอง ปีกหมวกด้านข้างพับขึ้น ด้านหลังติดดุมหุ้มหุ้มผ้าสีเดียวกับหมวก
(2) เสื้อแบบคอพับสีเขียวแก่ แขนสั้นเหนือศอก ผ่าอกตลอด อกเสื้อทำเป็นสาบกว้าง 3.5 เซนติเมตร มีดุม 4 เม็ด อกมีกระเป๋าข้างละ 1 กระเป๋า มีแถบตรงกึ่งกลางตามทางดิ่ง ปกรูบมน เจาะรังดุมกึ่งกลางกระเป๋า 1 ดุม มีอินทรธนูสีเดียวกับเสื้ออยู่เหนือบ่าทั้งสองข้างด้านไหล่กว้าง 3.5 เซนติเมตร ด้านคอกว้าง 2.5 เซนติเมตร การแต่งเครื่องแบบเนตรนารีให้สอดชายเสื้ออยู่ภายในกระโปรง
- ประดับอินทรธนูสีเขียว ปลายอินทรธนูมีรูปเครื่องหมายเนตรนารีสีเหลือง กระดุมสีเขียว
- ประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเนตรนารีวิสามัญอื่นๆ ตามที่โรงเรียนกำหนด
(3) ผ้าผูกคอรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านฐาน 100 เซนติเมตร ด้านตั้ง 75 เซนติเมตร ติดเครื่องหมายจังหวัด สีผ้าพันคอตามเขตพื้นที่การศึกษา และสวมห่วงสวมผ้าผูกคอ (ซึ่งไม่ใช่ห่วงกิลเวลล์)
(4) กระโปรงเนตรนารีสีเขียวแก่ ทำด้วยผ้า ยาวเสมอเข่า มีจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลังกึ่งกลาง 1 จีบ
(5) เข็มขัดหนังสีดำ กว้างไม่เกิน 3 เซนติเมตร หัวเข็มขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยโลหะสีทองมีลายดุนรูปเครื่องหมายเนตรนารี
(6) ถุงเท้าสีขาว พับสั้นเพียงข้อเท้า
(7) รองเท้าหนังสีดำแบบนักเรียน หรือ รองเท้าผ้าใบหุ้มส้นชนิดผูกสีดำไม่มีลวดลาย
เครื่องหมายชุดเนตรนารี
เครื่องหมายชุดเนตรนารี จะมีการประดับเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้นของเนตรนารี ตั้งแต่เนตรนารีสามัญ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ และเนตรนารีวิสามัญ อย่างไรก็ตามนอกจากการแต่งกายเนตรนารีจะมีการประดับเครื่องหมายที่แตกต่างกันตามระดับชั้นของเนตรนารีแล้ว ยังแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีความเข้มงวดและจริงจังกับเครื่องหมายเหล่านี้ที่แตกต่างกัน โดยเครื่องหมายชุดเนตรนารีเหล่านั้น ได้แก่
- ป้ายโรงเรียนที่แขนเสื้อเนตรนารีด้านขวา *
- ป้ายชื่อเนตรนารี *
- เข็มติดหน้าอกตราเนตรนารี *
- เครื่องหมายคติพจน์ลูกเสือ
- หมายเลขกลุ่ม/กอง
- เครื่องหมายประจำหมู่
- เครื่องหมายวิชาพิเศษ
- เครื่องหมายลูกเสือโลก
- เครื่องหมายนายหมู่/รองนายหมู่/พลาธิการ
- เครื่องหมายชั้นปี
- เครื่องหมายประจำการ
- ธงชาติ
* หมายถึง เครื่องหมายที่พบได้อย่างแน่นอนบนเครื่องแบบเนตรนารีสามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิสามัญ ในทุกโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดๆ ก็ตาม
เพื่อประโยชน์ของนักเรียนหรือผู้ปกครองที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ ชุดเนตรนารี หรือ เครื่องแบบเนตรนารี ก่อนซื้อจากร้านค้าภายนอกหรือปักเครื่องหมายลงบนชุดเครื่องแบบเนตรนารี เราขอแนะนำให้ตรวจสอบให้แน่ใจจากทางโรงเรียนหรือสถานศึกษา เกี่ยวกับรายการต่อไปนี้
- ป้ายชื่อใช้แบบใด? แบบปักหรือป้ายชื่อแบบเข็มกลัด และข้อกำหนดอย่างเช่นขนาดหรือสีอย่างไร
- รองเท้าใช้แบบใด? รองเท้าหนังหรือผ้าใบหรือรองเท้านักเรียน หรือแม้กระทั่งการอนุโลมใช้รองเท้าพละสีขาวสำหรับเนตรนารี
- ติดเครื่องหมายอะไรบ้าง? เช่น บางโรงเรียนที่ไม่ติดเครื่องหมายวิชาพิเศษใดเลยก็มี
- สีผ้าผูกคอและตราจังหวัด (มักจะไม่มีปัญหาหากซื้อหรือสั่งปักในร้านใกล้กับโรงเรียน)
- ป้ายชื่อโรงเรียน ที่บางครั้งซื้อจากนอกโรงเรียนอาจได้แบบที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง
- มีอุปกรณ์ประกอบเครื่องแบบอื่นๆ หรือไม่? เช่น เชือกลูกเสือ สายยงยศ และสายนกหวีด
อย่างไรก็ตาม รายการเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบเหล่านี้ของชุดเนตรนารี หากซื้อจากทางโรงเรียนมักจะมีรายการเครื่องหมายประกอบเครื่องแบบที่น่าจะครบถ้วนตามที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวใช้อยู่แล้ว