เงื่อนผูกร่น มีที่มาจากการใช้ทบเชือกโดยการนำปลายเชือกมาทบกัน เป็นวิธีผูกเงื่อนที่ใช้กับลากสัตว์เลี้ยง อย่างเช่น วัว และแกะ เพื่อสงวนเชือกที่มีขนาดใหญ่และยาวเกินไปเพื่อทำให้มีขนาดที่พอเหมาะ และใช้ในการทบเชือกส่วนที่ชำรุดให้มีความแข่งแรงและยังคงใช้งานได้ต่อไป
จากที่มาดังกล่าวทำให้ เงื่อนผูกร่น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Sheepshank” และรู้จักกันในชื่อ “เงื่อนทบเชือก” ด้วยเช่นกัน
วิธีผูกเงื่อนผูกร่น
ขั้นตอนวิธีผูกเงื่อนผูกร่น มีดังนี้
- ให้คะเนเชือกที่ชำรุดไว้ตรงกลางแล้วทบเชือก 2 ข้างเข้าหากัน นำปลายเชือกมาทบกัน โดยให้ปลายเชือกเส้นหนึ่งอยู่ด้านบน
- จากนั้นนำปลายเชือกเส้นล่างมาพันรอบปลายเชือกเส้นบน
- และนำปลายเชือกเส้นล่างมาพันรอบปลายเชือกเส้นบนอีกครั้ง โดยให้พันย้อนย้อนทางจากการพันครั้งแรกในขั้นตอนที่ 2.
- จัดเชือกโดยดึงปลายเชือกทั้งสองด้านให้แน่น
เงื่อนผูกร่น ประโยชน์
เงื่อนผูกร่น เป็นเงื่อนที่มีประโยชน์หลักในการร่นเชือกด้วยเหตุผลต่างๆ รวมถึงเป็นการสงวนเชือกที่มีขนาดใหญ่มากและยาวมากในส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้มีความแข็งแรง และเชือกยังใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้เหมือนเดิม
โดยเงื่อนผูกร่นมีประโยชน์หลักๆ ดังนี้
- ร่นเชือกที่ยาวมากๆ ให้สั้นลงตามต้องการ ใช้ในการร่นเชือกให้สั้นลงได้ตามชื่อ จากการนำปลายเชือกมาทบกันหลายทบให้มีระยะเท่าที่ต้องการ
- ใช้ต่อเชือกที่ชำรุดเล็กน้อย โดยช่วยยึดรอยชำรุดของเชือกให้แน่นขึ้น ทำให้เชือกมีกำลังเท่าเดิมเป็นการชั่วคราว
- ทบเชือกให้มีกำลังลากจูง เพื่อเพิ่มกำลังในการลากจูงสิ่งของ เพราะการทบเชือกเข้าด้วยกันจะทำให้เชือกมีขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น
- ผูกเชือกกับวัตถุทรงกระบอก เช่น ท่อ ถัง
- ผูกเชือกกับสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เช่น หิน ท่อนไม้
- ผูกเชือกกับสิ่งของที่อาจเลื่อนหลุดได้ง่าย เช่น ของใช้บนเรือ
นอกจากนี้ เงื่อนผูกร่นยังทำให้เชือกที่มีขนาดยาวมากๆ สั้นลง เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องของการเก็บเชือกได้ด้วยเช่นกัน
ข้อควรระวังสำหรับการใช้เงื่อนผูกรั้ง
- การเลือกขนาดเชือกที่เหมาะสม: โดยการใช้เงื่อนผูกรั้งควรเลือกเชือกที่แข็งแรงและมีความยืดหยุ่นพอสมควร
- ตรวจสอบเชือกให้ดีก่อนการใช้งาน: ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบเชือกให้แน่ใจว่าไม่มีรอยขาดหรือชำรุด ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายจากการใช้งานเชือก
- หลีกเลี่ยงการผูกเงื่อนให้ตึงเกินไป: ซึ่งอาจทำให้เชือกที่ใช้การผูกรั้งขาดได้
วิธีผูกเงื่อนอื่น ๆ ทั้งหมดมากกว่า 20 แบบ
- เงื่อนพิรอด
- เงื่อนกระหวัดไม้
- เงื่อนผูกร่น หรือ เงื่อนทบเชือก
- เงื่อนตะกรุดเบ็ด
- เงื่อนขัดสมาธิ หรือ เงื่อนหัก
- เงื่อนบ่วงสายธนู
- เงื่อนประมง
- เงื่อนเลข 8 หรือ ปมตาไก่
- เงื่อนผูกซุง
- เงื่อนผูกรั้ง
- เงื่อนเก้าอี้
- เงื่อนขโมย
- เงื่อนผูกกระดาน
- เงื่อนยายแก่
- เงื่อนผูกแน่น
- การผูกประกบ
- การผูกทแยง
- การผูกกากบาท
- การผูกตอม่อสะพาน