เงื่อนผูกซุง (Timber hitch) เป็นเงื่อนที่ใช้ในการผูกวัตถุท่อนยาว อย่างเช่น ต้นซุง เสา ก้อนหิน เพื่อการลากโยง โดยการผูกเงื่อนผูกซุงจะมีลักษณะการผูกเป็นเกลียวพันรอบตัววัตถุ ทำให้สามารถยึดวัตถุได้อย่างแน่นหนา ไม่หลุดหรือคลายออกง่าย
นอกจากนั้น อีกคุณสมบัติของเงื่อนผูกซุงคือการที่ยิ่งดึงจะทำให้เงื่อนผูกซุงยิ่งมีความแน่นหนาขึ้น ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งกับการลากโยง
เงื่อนผูกซุง หรือ Timber hitch จึงเป็นหนึ่งในเงื่อนพื้นฐานที่สำคัญและใช้งานได้หลากหลายในงานที่เกี่ยวข้องกับเชือก ไม่ว่าจะเป็นการผูกมัดสิ่งของ การลากจูง หรือการยึดติดวัตถุต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผูกกับวัตถุทรงกลมหรือทรงกระบอก เช่น ท่อนซุง เสา หรือท่อนไม้
วิธีผูกเงื่อนผูกซุง
ขั้นตอนวิธีผูกเงื่อนผูกซุงมีดังนี้
- สอดปลายเชือกเข้าไปในวัตถุที่ต้องการผูก
- งอเชือกคล้องตัวเชือก
- พันปลายเชือกรอบตัวเชือกเองประมาณ 3-5 รอบตามต้องการ
- จากนั้นดึงให้แน่น
สิ่งสำคัญของการผูกเงื่อนผูกซุง คือ การผูกเงื่อนผูกซุงควรผูกให้แน่นพอสมควร โดยให้ปลายเชือกพันรอบตัววัตถุ 3 – 5 รอบ เพื่อให้เงื่อนแน่นหนาไม่หลุดหรือคลายออกง่าย เนื่องจากการผูกวัตถุด้วยเงื่อนผูกซุงมักเป็นการผูกให้แน่นเพื่อการลากจูง
นอกจากนั้น หากต้องการผูกเงื่อนผูกซุงให้มีความแน่นหนายิ่งขึ้น ยังสามารถเพิ่มจำนวนรอบของการพันเชือกรอบตัววัตถุได้ด้วยเช่นกัน
เงื่อนผูกซุง ประโยชน์
- ยึดติดแน่นและมั่นคง: เงื่อนผูกซุงมีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดี และจะยึดแน่นขึ้นเมื่อมีแรงดึง
- เหมาะกับวัตถุทรงกระบอก: ด้วยการออกแบบให้พันรอบวัตถุ เงื่อนนี้จึงเหมาะกับการผูกวัสดุที่มีทรงกลมยาวอย่างซุงหรือเสา
- ปลดง่าย: แม้ว่าจะผูกเงื่อนไว้แน่นแค่ไหน ก็สามารถปลดออกได้ง่ายเมื่อไม่มีแรงดึง
กล่าวคือ เงื่อนผูกซุง มีประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ผูกวัตถุท่อนยาว อย่างเช่น ต้นซุง เสา ก้อนหิน เพื่อการลากโยง เนื่องจากเป็นเงื่อนที่ไม่หลุดง่าย ยึดวัตถุได้อย่างแน่นหนา ไม่หลุดหรือคลายออกง่าย อีกทั้งยังยิ่งดึงยิ่งแน่น ตัวอย่างการใช้ประโยชน์เงื่อนผูกซุงในชีวิตจริง มีดังนี้
- ใช้ในการผูกลากท่อนซุงและเสา
- ใช้ในการผูกทแยง เช่น ผูกเชือกกับต้นซุงแล้วลากเชือกไปผูกกับต้นไม้อีกต้นหนึ่ง
- ใช้ผูกเรือแพไว้กับท่าหรือเสา
ทั้งนี้ ข้อควรระวังในการใช้เงื่อนผูกซุงคือเลือกขนาดเชือกให้เหมาะสมบขนาดและน้ำหนักของวัตถุที่ต้องการผูก เนื่องจากเงื่อนผูกซุงมักใช้ในการลากจูง และการตรวจสอบความแน่นของเงื่อน หลังจากผูกเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบความแน่นของเงื่อนอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุจะไม่หลุดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
วิธีผูกเงื่อนอื่น ๆ ทั้งหมดมากกว่า 20 แบบ
- เงื่อนพิรอด
- เงื่อนกระหวัดไม้
- เงื่อนผูกร่น หรือ เงื่อนทบเชือก
- เงื่อนตะกรุดเบ็ด
- เงื่อนขัดสมาธิ หรือ เงื่อนหัก
- เงื่อนบ่วงสายธนู
- เงื่อนประมง
- เงื่อนเลข 8 หรือ ปมตาไก่
- เงื่อนผูกซุง
- เงื่อนผูกรั้ง
- เงื่อนเก้าอี้
- เงื่อนขโมย
- เงื่อนผูกกระดาน
- เงื่อนยายแก่
- เงื่อนผูกแน่น
- การผูกประกบ
- การผูกทแยง
- การผูกกากบาท
- การผูกตอม่อสะพาน