ผู้ตรวจการลูกเสือ คือใคร? เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่อะไร

เมื่อ

โดย

ผู้ตรวจการลูกเสือ คือ ตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือ พรบ ลูกเสือ 2551 พระราชบัญญัติ ลูกเสือ พ.ศ. 2551

ผู้ตรวจการลูกเสือ หมายถึง ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ ผู้ตรวจการใหญ่ รองผู้ตรวจการใหญ่ ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด รองผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 47 แห่ง พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551

ผู้ตรวจการลูกเสือ คือ ผู้ที่มีหน้าที่ตรวจตรา แนะนำ ชี้แจง และรายงาน เพื่อให้การบริหารงานลูกเสือเป็นไปตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมของลูกเสือ

โดยลำดับตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือได้ระบุเอาไว้ใน มาตรา 47 ของพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ดังนี้

  1. ผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ
  2. ผู้ตรวจการใหญ่
  3. รองผู้ตรวจการใหญ่
  4. ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
  5. รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
  6. ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
  7. ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
  8. รองผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
  9. ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
  10. ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
  11. รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

ทั้งนี้ ผู้รับตำแหน่งผู้ตรวจการลูกเสือ ได้ถูกระบุเอาไว้ในมาตรา 48 ของพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ได้แก่

ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตรวจการใหญ่พิเศษ

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ตรวจการใหญ่

ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นรองผู้ตรวจการใหญ่

ส่วนการแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือและการกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือในข้อ 4 ถึง 11 ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ โดยปัจจุบันคือ “ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือและการกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือ พ.ศ. 2553

การแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือ

การแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือในข้อ 4 ถึง 11 ให้เป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือและการกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือ พ.ศ. 2553 ดังนี้

1. เป็นผู้สุภาพเรียบร้อย มีความประพฤติดี สมควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก

2. เป็นผู้มีศาสนา

3. เป็นผู้ไม่มีโรคซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

4. เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือถ้าไม่มีสัญชาติไทยต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหาร ลูกเสือแห่งชาติ

5. เป็นผู้ยึดมั่นในคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ และได้รับเครื่องหมายวูดแบดจ์

6. เป็นผู้มีอาชีพเป็นหลักฐานไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี

7. เป็นผู้มีอายุดังต่อไปนี้

  • ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
  • รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี บริบูรณ์
  • ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์
  • รองผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา มีอายุไม่ต่ำกว่า 28 ปีบริบูรณ์
  • ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา มีอายุ ไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์

การแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

นอกจากนั้น ให้ประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติในตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

  • ผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
  • รองผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
  • ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ

การแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด

ให้ประธานกรรมการลูกเสือจังหวัดแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือในจังหวัดโดยผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด ในตำแหน่งดังต่อไปนี้

  • ผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
  • รองผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด
  • ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือจังหวัด

การแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

ให้ประธานกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือในเขตพื้นที่การศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา ในตำแหน่งดังต่อไปนี้

  • ผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา
  • รองผู้ตรวจการลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษา

หน้าที่ของ ผู้ตรวจการลูกเสือ มีหน้าที่ตรวจตรา

ตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือและการกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือ พ.ศ. 2553 ผู้ตรวจการลูกเสือมีหน้าที่ตรวจตรา แนะนำ สนับสนุน ส่งเสริม ชี้แจง และรายงาน เพื่อให้การบริหารงานลูกเสือเป็นไปตามนโยบาย หลักการ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบ ธรรมเนียมของลูกเสือ

ทั้งนี้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด

คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติอาจแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจการ ลูกเสือในฝ่ายต่าง ๆ และกำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายนั้น ๆ ตามความเหมาะสม โดยออก ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายต่าง ๆ

การพ้นจากตำแหน่งของผู้ตรวจการลูกเสือ

ผู้ตรวจการลูกเสืออาจพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

  • ตาย
  • ลาออก
  • ขาดคุณสมบัติ
  • มีเหตุหนึ่งเหตุใดอันไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

โดยผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ตรวจการลูกเสือแต่ละประเภทจะเป็นผู้มีอำนาจสั่งจำหน่ายผู้ตรวจการลูกเสือออกจากทะเบียนผู้ตรวจการลูกเสือ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ หรือคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด หรือคณะกรรมการลูกเสือ เขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณีให้พ้นจากตำแหน่ง