ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ส่งผลอะไรกับชีวิตประจำวันของเรา

เมื่อ

โดย

ในหมวด

ปรากฏการณ์เอลนีโญ คือ El Nino ผลกระทบ ลูกเสือโลก

ปรากฏการณ์เอลนีโญ เป็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราในทุก ๆ ด้าน ในบทความนี้ Scouth.org จะพาคุณเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญ มันส่งผลต่อชีวิตเราอย่างไร และเราสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง

ปรากฏการณ์เอลนีโญเกิดจากอะไร?

ปรากฏการณ์เอลนีโญ คือการเปลี่ยนแปลงของลมและน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกที่กระแสลมและกระแสน้ำจะเคลื่อนในทิศทาง “กลับทิศ” กับปกติ หรือเปลี่ยนจากฝั่งตะวันตกไปสู่ฝั่งตะวันออก

ตามปกติกระแสลมจะพัดผ่านจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงและอุณหภูมิต่ำ ไปสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำและอุณหภูมิสูง ถ้าเรามองผ่านแผนที่โลกกระแสลมที่ว่าพัดจากฝั่งผ่านจากตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิไปยังฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกนั่นหมายความว่าจะเกิดการพัดพากระแสน้ำจากฝั่งตะวันออกที่มีระดับน้ำสูงกว่าและอุ่นกว่ามาฝั่งตะวันตก ทำให้ประเทศในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกจะมีฝนมากขึ้นจากปรากฏการณ์ปกตินี้ โดยเหตุการณ์ตามปกตินี้เราจะเรียกว่า ปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina)

อย่างไรก็ดี ในช่วงพิเศษที่กระแสลมและกระแสน้ำมีการกลับทิศนี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino แปลว่า เด็กผู้ชายในภาษาสเปน) ที่กระแสลมและกระแสน้ำกลับทิศทางกัน (จากฝั่งตะวันตกไปสู่ฝั่งตะวันออก) จะทำให้ประเทศในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลับแห้งแล้ง ในขณะที่ประเทศฝั่งทวีปอเมริกาใต้จะชุ่มชื้นและมีฝนมากปกติ

โดยปรากฏการณ์เอลนีโญเป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยทุก 5 ปี

ผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

ปรากฏการณ์เอลนีโญมีผลกระทบที่หลากหลายต่อสภาพอากาศ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบฝนตก และการเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แล้งและน้ำท่วม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเกษตร การประมง และเศรษฐกิจโดยรวม

ในช่วงปรากฏการณ์เอลนีโญ น้ำอุ่นจะเคลื่อนที่จากฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังฝั่งตะวันออก ทำให้น้ำเย็นที่อุดมไปด้วยสารอาหารไม่สามารถขึ้นมาที่ผิวน้ำได้ ส่งผลให้ปริมาณปลาและสัตว์น้ำลดลง ซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงและเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพาการประมง

ทำให้ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น อินโดนีเซียและออสเตรเลีย อาจประสบกับภาวะแห้งแล้ง ในขณะที่ทวีปอเมริกาใต้อาจมีฝนตกมากกว่าปกติ สำหรับประเทศไทย เราอาจสังเกตเห็นอากาศที่ร้อนขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราซึ่งนำไปสู่การเพิ่มการใช้พลังงานในการปรับอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตทางการเกษตร

ในทางกลับกัน สภาพอากาศที่เย็นกว่าปกติในยุโรปอาจส่งผลต่อความต้องการพลังงานและอาหาร การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อต้นทุนการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ด้วย

โดยสรุปปรากฏการณ์เอลนีโญนี้ จะส่งผลต่อสภาพอากาศทั่วโลก โดยจะทำให้เกิดสภาวะอากาศที่ผิดปกติ เช่น

  • บริเวณชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้: อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง
  • บริเวณชายฝั่งทวีปอเมริกาเหนือ: อากาศจะหนาวเย็นและชื้น
  • บริเวณชายฝั่งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อากาศจะร้อนและชื้น
  • บริเวณชายฝั่งทวีปออสเตรเลีย: อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง

การเตรียมพร้อมสำหรับปรากฏการณ์เอลนีโญจึงเป็นการเรียนรู้และปรับตัว เช่น การวางแผนการเกษตรที่ยืดหยุ่น และการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝนตกหนักหรือภาวะแห้งแล้ง

การเข้าใจและการปรับตัวเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญได้ดียิ่งขึ้น โดยเราสามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้น ด้วยการติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดจากหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีการติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด และแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับภัยพิบัติที่อยู่แล้ว

ประเทศไทยได้รับผลจากเอลนีโญอย่างไรบ้าง?

ปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลต่อประเทศไทยอย่างหลากหลาย ด้านสภาพอากาศ ประชาชนจะเผชิญกับอากาศร้อนจัด ภัยแล้ง และไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นบ่อย ส่งผลต่อสุขภาพและการใช้น้ำ

ในขณะที่ด้านสังคม ประชาชนบางพื้นที่อาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ อากาศร้อนจัดและฝุ่นละออง PM 2.5 อาจส่งผลต่อสุขภาพ ปัญหาไฟป่าส่งผลต่อสุขภาพและการมองเห็น และอาจเกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องน้ำ

นำไปสู่ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ซึ่งส่งผลต่อราคาสินค้าอาหารที่อาจสูงขึ้น ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลง ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ และอาจเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ อีกทั้งยังมีโอกาสบางประการที่อาจเกิดขึ้น เช่น ราคาสินค้าบางประเภทอาจสูงขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำอาจมีโอกาสเติบโต และเกษตรกรที่ปลูกพืชทนแล้งอาจมีรายได้เพิ่มขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง