พิธีเปิดกองลูกเสือสํารอง แกรนด์ฮาวล์ (Grand Howl) มีที่มา และมีขั้นตอนในพิธีการแกรนด์ฮาวล์ลูกเสือสํารองอย่างไร
แกรนด์ฮาวล์ คืออะไร?
แกรนด์ฮาวล์ คือ พิธีการลูกเสือในการแสดงความเคารพเป็นหมู่ของลูกเสือสำรองพร้อมกันทั้งกอง ต่อหน้าผู้กำกับลูกเสือหรือรองผู้กำกับลูกเสือ ซึ่งสวมบทบาทเป็นหัวหน้าฝูงหมาป่า (อาเคล่า)
แกรนด์ฮาวล์ (Grand Howl) มีความเป็นมาจากนิทานป่าดงพงพี (The Jungle Book) โดยรัดยาร์ด คิปลิง (Rudyard Kipling) เรื่อง เมาคลีลูกหมาป่า ที่ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลก BP ได้เห็นว่าแม้แต่ในป่าก็ยังมีกฎเกณฑ์ ให้สัตว์ต่างๆ ปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยกล่าวถึงการประชุมของฝูงหมาป่า เมื่อหัวหน้าฝูงหมาป่าที่ชื่อ “อาเคลา” ได้เข้าประจำที่ฝูงหมาป่าจะนั่งลงและเชิดหัวขึ้นเล็กน้อย แล้วเห่าหอนพร้อมกันเป็นการคารวะต่อหัวหน้า จึงเป็นที่มาของคำว่า “แกรนด์ฮาวล์” หรือการเห่าหอนครั้งใหญ่นั่นเอง
ลูกเสือสำรอง เปรียบเสมือนลูกหมาป่า ที่มีหัวหน้า คือ ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง ซึ่งเรียกว่า “อาเคลา” เช่นเดียวกัน เมื่อลูกเสือสำรองได้มารวมกันก็ต้องทำความเคารพร่วมกัน พร้อมๆ กัน คือ การทำแกรนด์ฮาวล์เป็นการทำความเคารพและให้เกียรติแก่ผู้กำกับฯ ของพวกเขา ซึ่งเปรียบเสมือนหัวหน้าฝูงหมาป่า “อาเคลา” นั่นเอง
สถานที่พิธีแกรนด์ฮาวล์
สถานที่พิธีแกรนด์ฮาวล์ จะใช้ลานกว้างเป็นที่ร่มหรือกลางแจ้งเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนสมาชิกของกองลูกเสือสำรอง
วิธีการทำแกรนด์ฮาวล์
ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง จำเป็นที่จะต้องเลือกสถานที่ให้เหมาะสมเสียก่อนและยืนอยู่ในท่าตรง จากนั้นจึงเรียกลูกเสือสำรอง โดยให้ปฏิบัติดังนี้
1. ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง (เปรียบเสมือน อาเคลา) เรียก “แพ็ก – แพ็ก – แพ็ก” (แพ็กคำท้ายให้เน้นเสียงให้หนัก) พร้อมกับทำสัญญาณมือแกว่งรอบตัวเป็นรูปวงกลม (มีรองผู้กำกับกองลูกเสือสำรองเปรียบเสมือน บาลูและบาเกียร่า) ยืนอยู่นอกวงกลมและหลังผู้กำกับฯ
2. เมื่อลูกเสือสำรอง ได้ยินเสียงเรียกของผู้กำกับฯ ทุกคนจะต้องขานรับพร้อมกันทันทีว่า “แพ็ก” แล้ววิ่งมาเข้าแถวเป็นรูปวงกลมเล็กล้อมรอบผู้กำกับฯ โดยนายหมู่ของหมู่บริการอยู่ตรงหน้าผู้กำกับฯ จากนั้นก็เรียงไปตามลำดับ ให้ไหล่ต่อไหล่ชิดกัน
3. ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง ผายมือทั้งสองออกไปข้างๆ เล็กน้อย นิ้วทั้งห้าชิดกัน ฝ่ามือแบหงาย แล้วลดมือลง เพื่อ
ตรวจดูความเรียบร้อย
4. เมื่อลูกเสือสำรองเห็นสัญญาณนี้ทุกคนจับมือกันขยายออกเป็นรูปวงกลมใหญ่ จนแขนตึง จึงปล่อยมือ
และจัดวงกลมให้เรียบร้อย
5. ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง ตรวจดูเห็นว่าวงกลมเรียบร้อยดีแล้ว ให้กางแขนทั้งสองออกไปข้างๆ เสมอไหล่ ขนานกับพื้นนิ้วทั้งห้าชิดกัน ฝ่ามือแบหงาย แล้วพลิกฝ่ามือคว่ าลงและงองุ้ม เป็นสัญญาณให้ลูกเสือนั่งลง
6. ลูกเสือสำรองทุกคนนั่งลงบนส้นเท้าทั้ง 2 ทันที แขนทั้งสองเหยียดตรงอยู่ระหว่างเข่า มือทั้ง 2 ห่างกันพอควร แบะเข่าออกเล็กน้อย นิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งสองมือเหยียดชิดกันและแตะพื้น นิ้วอื่นๆ งอไว้ในอุ้งมือ ให้นิ้วหัวแม่มือกดนิ้วนางกับนิ้วก้อยไว้
7. ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง พลิกฝ่ามือทั้ง 2 หงายขึ้น เป็นสัญญาณให้ลูกเสือร้อง
8. ลูกเสือสำรองทุกคนแหงนหน้าร้องขึ้นพร้อมกันว่า “อา – เค – ล่า เรา – จะ – ท า – ดี – ที่ – สุด” พอขาดคำว่า “สุด” ให้ลูกเสือทุกคนกระโดดยืนขึ้น เท้าทั้ง 2 ชิดติดกัน พร้อมกับยกมือทั้ง 2 ที่อยู่ในท่านั่ง ไปไว้เหนือหูและชิดหู
9. นายหมู่ลูกเสือ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหมู่บริการในวันนั้น (ที่อยู่ตรงหน้ากับผู้กำกับฯ) จะร้องขึ้นว่า “จงทำดี – จงทำดี – จงทำดี” การร้องให้หันหน้าไปทางซ้ายก่อน – ตรงหน้า – ขวา ทีละครั้ง (เวลาร้องไม่ต้องผงกศีรษะ)
10. เมื่อสิ้นคำที่ 3 แล้ว ให้ลูกเสือทุกคนลดมือซ้ายลงมาแนบลำตัวอย่างว่องไว (มือแบออก) ส่วนมือขวาลดลงมาทำท่าวันทยหัตถ์ แล้วร้องขึ้นพร้อมกันว่า “เราจะทำดี – จะทำดี – จะทำดี” ขณะที่ลูกเสือร้องนี้ ให้ผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง วันทยหัตถ์ตามแบบลูกเสือสำรอง (2 นิ้ว) เป็นการรับการเคารพของลูกเสือและอาจจะกล่าวคำขอบใจ หรือคำอื่นใดที่สั้นๆ ก็ได้
รองผู้กำกับกองลูกเสือสำรอง อื่นๆ ที่อยู่นอกวงกลมอยู่ในท่าตรง