ปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) ส่งผลอะไรบ้างกับไทย

เมื่อ

โดย

ในหมวด

ปรากฏการณ์ลานีญา คือ El Nino ผลกระทบ ลูกเสือโลก

ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ทางสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงใต้เย็นลงมากกว่าปกติประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน

ปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดขึ้นจากการที่กระแสลมที่ไหลพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ไปยังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกในทิศทางปกติมีกำลังแรงขึ้น โดยนั่นทำให้ภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคออสเตรเลียและโอเชียเนียจะมีฝนตกมากขึ้นและมีความชื้นมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย กลับกันในฝั่งทวีปอเมริกาใต้จะแห้งแล้งมากกว่าปกติเนื่องจากปริมาณฝนที่น้อยลงจากปกติ

นอกจากนี้ ลานีญามักเกิดขึ้นหลังจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง

คำว่า ลานีญา หมายถึง “บุตรสาว” ตรงข้ามกับ เอลนีโญ ที่หมายถึง เด็กชาย ในภาษาสเปน

กลไกการเกิดปรากฏการณ์ลานีญา

ลานีญาจะเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นจากการที่กระแสน้ำเย็นจากใต้ทะเลลึกไหลขึ้นมาแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งเปรู ส่งผลให้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็นลง

ทำให้ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ (Trade Wind) ที่พัดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือแรงขึ้น ส่งผลทำให้ผิวน้ำทะเลเย็นลงมากขึ้น และนั่นจะทำให้ความกดอากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงใต้ทวีความรุนแรงขึ้น และดันน้ำอุ่นไปทางทิศตะวันตก

ทั้งหมดจะนำไปสู่ปรากฏการณ์ลานีญา ที่มีผลกระทบตามหัวข้อถัดไป

ผลกระทบของลานีญา

โดยพื้นฐาน ปรากฏการณ์ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ทางสภาพภูมิอากาศที่ตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ดังนั้นแล้วผลกระทบของลานีญาจึงมักจะตรงกันข้ามกับของปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งมีผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพอากาศของทั้งชายฝั่งชิลี เปรูและออสเตรเลีย รวมทั้งอีกหลายประเทศ

ในขณะที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดปรากฏการณ์ลานีญาจากมุมมองของเราที่อยู่ในประเทศไทยจะแบ่งได้ ดังนี้

  • ฝน: โดยทั่วไป ลานีญามักส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกกว่าปกติ โดยเฉพาะในภาคใต้และภาคตะวันออก
  • อุณหภูมิ: อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของประเทศไทยจะเย็นลงเล็กน้อย
  • ภัยแล้ง: ลานีญาอาจส่งผลให้เกิดภัยแล้งในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • น้ำท่วม: ฝนตกชุกจากลานีญาอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่
  • พายุ: ลานีญาอาจส่งผลต่อจำนวนและความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ

หมายเหตุ: ผลกระทบของลานีญาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปรากฏการณ์

แหล่งข้อมูลอ้างอิง