จังหวัดในประเทศไทย 77 จังหวัด ล่าสุด 2568

เมื่อ

โดย

ในหมวด

รายชื่อจังหวัดในประเทศไทย 77 จังหวัด เรียงตามตัวอักษร และการแบ่งตามภูมิภาคทั้ง 6 ภาคของประเทศไทย ตามการแบ่งของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติ

ประเทศไทยมีกี่จังหวัด

ปัจจุบันประเทศไทยมี 76 จังหวัด และ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวง และพัทยาที่มีระดับเทียบเท่าเทศบาลนคร)

โดยจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดจะอ้างอิงจาก พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากรุงเทพมหานครจะมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แต่ในทางปฏิบัติลักษณะของกรุงเทพฯ มีลักษณะที่คล้ายกับจังหวัดและเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ทำให้เรามักจะนับกรุงเทพมหานครเข้าไปเป็นจังหวัดที่ 77 เพื่อความง่ายในการสื่อสาร

ในทางปฏิบัติเราจึงเรียกว่าประเทศไทยมี 77 จังหวัด แทนที่จะบอกว่ามี 76 จังหวัด (ที่ไม่ใช่ 78 จังหวัดเพราะไม่นับพัทยาที่เป็นเพียงระดับเทียบเท่าเทศบาลนคร)

77 จังหวัดในประเทศไทย เรียงตามตัวอักษร

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กระบี่
  3. กาญจนบุรี
  4. กาฬสินธุ์
  5. กำแพงเพชร
  6. ขอนแก่น
  7. จันทบุรี
  8. ฉะเชิงเทรา
  9. ชลบุรี
  10. ชัยนาท
  11. ชัยภูมิ
  12. ชุมพร
  13. เชียงราย
  14. เชียงใหม่
  15. ตรัง
  16. ตราด
  17. ตาก
  18. นครนายก
  19. นครปฐม
  20. นครพนม
  21. นครราชสีมา
  22. นครศรีธรรมราช
  23. นครสวรรค์
  24. นนทบุรี
  25. นราธิวาส
  26. น่าน
  27. บึงกาฬ
  28. บุรีรัมย์
  29. ปทุมธานี
  30. ประจวบคีรีขันธ์
  31. ปราจีนบุรี
  32. ปัตตานี
  33. พระนครศรีอยุธยา
  34. พังงา
  35. พัทลุง
  36. พิจิตร
  37. พิษณุโลก
  38. เพชรบุรี
  39. เพชรบูรณ์
  40. แพร่
  41. พะเยา
  42. ภูเก็ต
  43. มหาสารคาม
  44. มุกดาหาร
  45. แม่ฮ่องสอน
  46. ยโสธร
  47. ยะลา
  48. ร้อยเอ็ด
  49. ระนอง
  50. ระยอง
  51. ราชบุรี
  52. ลพบุรี
  53. ลำปาง
  54. ลำพูน
  55. เลย
  56. ศรีสะเกษ
  57. สกลนคร
  58. สงขลา
  59. สตูล
  60. สมุทรปราการ
  61. สมุทรสงคราม
  62. สมุทรสาคร
  63. สระแก้ว
  64. สระบุรี
  65. สิงห์บุรี
  66. สุโขทัย
  67. สุพรรณบุรี
  68. สุราษฎร์ธานี
  69. สุรินทร์
  70. หนองคาย
  71. หนองบัวลำภู
  72. อ่างทอง
  73. อุดรธานี
  74. อุตรดิตถ์
  75. อุทัยธานี
  76. อุบลราชธานี
  77. อำนาจเจริญ

ประเทศไทยมีกี่ภาค

การแบ่ง ภาคของประเทศไทย อย่างเป็นทางการ แบ่งเป็น 6 ภาค โดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสภาวิจัยแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ได้แก่

  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
  • ภาคตะวันตก
  • ภาคกลาง
  • ภาคตะวันออก
  • ภาคใต้

นอกจากนี้ อีกรูปแบบการแบ่งภูมิภาคที่ได้รับความนิยมคือการแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยเป็น 4 ภาค ซึ่งเป็นการแบ่งตามลำดับหมายเลขทางหลวง ได้แก่

  • ภาคเหนือ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
  • ภาคกลาง
  • ภาคใต้

แต่อย่างไรก็ตาม การแบ่งภูมิภาคอาจแบ่งด้วยวิธีการอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน อย่างเช่นการแบ่งภูมิภาคโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีการแบ่งประเทศไทยเป็น 6 ภาคเช่นเดียวกับการแบ่งในรูปแบบของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ข้างต้น เพียงแต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์

การแบ่งภูมิภาค ประเทศไทย 6 ภาค

รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยแยกตามภาค แบบ 6 ภาค อ้างอิงตามการแบ่งภูมิภาคประเทศไทย 6 ภาคของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ

จังหวัดภาคเหนือ (9 จังหวัด)

  1. เชียงราย
  2. เชียงใหม่
  3. น่าน
  4. พะเยา
  5. แพร่
  6. แม่ฮ่องสอน
  7. ลำปาง 
  8. ลำพูน
  9. อุตรดิตถ์

จังหวัดภาคกลาง รวมกรุงเทพมหานคร (22 จังหวัด)

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กำแพงเพชร
  3. ชัยนาท
  4. นครนายก
  5. นครปฐม
  6. นครสวรรค์
  7. นนทบุรี
  8. ปทุมธานี
  9. พระนครศรีอยุธยา
  10. พิจิตร
  11. พิษณุโลก
  12. เพชรบูรณ์
  13. ลพบุรี
  14. สมุทรปราการ
  15. สมุทรสงคราม
  16. สมุทรสาคร
  17. สระบุรี
  18. สิงห์บุรี
  19. สุโขทัย
  20. สุพรรณบุรี
  21. อ่างทอง
  22. อุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (20 จังหวัด)

  1. กาฬสินธุ์
  2. ขอนแก่น
  3. ชัยภูมิ
  4. นครพนม
  5. นครราชสีมา
  6. บึงกาฬ
  7. บุรีรัมย์
  8. มหาสารคาม
  9. มุกดาหาร
  10. ยโสธร
  11. ร้อยเอ็ด
  12. เลย
  13. ศรีสะเกษ
  14. สกลนคร
  15. สุรินทร์
  16. หนองคาย
  17. หนองบัวลำภู
  18. อุดรธานี 
  19. อุบลราชธานี
  20. อำนาจเจริญ

จังหวัดภาคตะวันออก (7 จังหวัด)

  1. จันทบุรี
  2. ฉะเชิงเทรา
  3. ชลบุรี
  4. ตราด
  5. ปราจีนบุรี
  6. ระยอง 
  7. สระแก้ว

จังหวัดภาคตะวันตก (5 จังหวัด)

  1. กาญจนบุรี
  2. ตาก
  3. ประจวบคีรีขันธ์
  4. เพชรบุรี
  5. ราชบุรี

จังหวัดภาคใต้ (14 จังหวัด)

  1. กระบี่
  2. ชุมพร
  3. ตรัง
  4. นครศรีธรรมราช
  5. นราธิวาส
  6. ปัตตานี
  7. พังงา
  8. พัทลุง
  9. ภูเก็ต
  10. ยะลา
  11. ระนอง
  12. สตูล
  13. สงขลา
  14. สุราษฎร์ธานี 

การแบ่งภูมิภาค ประเทศไทย 4 ภาค

รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยแยกตามภาค แบบ 4 ภาค อ้างอิงตามการแบ่งภูมิภาคประเทศไทย 6 ภาคของคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ

จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย 15 จังหวัด โดยเพิ่มมาอีก 6 จังหวัดคือ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และพิจิตร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 21 จังหวัด โดยเพิ่มจังหวัดเพชรบูรณ์เข้ามา จาก 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือในทางภูมิศาสตร์

ภาคกลาง ประกอบด้วย 27 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด เช่นเดียวกันกับภาคใต้ในทางภูมิศาสตร์