วิชาพิเศษลูกเสือสามัญ 54 วิชามีอะไรบ้าง (พร้อมหลักสูตร)

เมื่อ

โดย

วิชาพิเศษลูกเสือสามัญ 54 วิชา มีอะไรบ้าง วิชา ลูกเสือ เนตรนารี สามัญ ประถม

วิชาพิเศษของลูกเสือสามัญ 54 วิชา คือ วิชาพิเศษที่ลูกเสือ เนตรนารี สามัญ ที่กำลังเรียนหลักสูตรลูกเสือโทและลูกเสือเอกสามารถเลือกสอบได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ โดยวิชาพิเศษลูกเสือสามัญมีเป้าหมายในการทำให้ลูกเสือสามัญได้แสดงออกซึ่งทักษะ ความสนใจของตนเอง และให้ได้มีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับลูกเสืออื่น

โดยลูกเสือ เนตรนารี สามัญ จะแบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ลูกเสือตรี ลูกเสือโท และลูกเสือเอก

ลูกเสือตรี มีหลักสูตรโดยย่อ ดังนี้

  1. ความรู้เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือ
  2. คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือสามัย
  3. กิจกรรมกลางแจ้ง
  4. ระเบียบแถว

เมื่อสอบวิชาตามหลักสูตรลูกเสือตรีได้แล้ว จึงได้เข้าพิธีประจำกอง และให้ได้รับการฝึกอบรมชั้นลูกเสือโทต่อไป

ลูกเสือโท มีหลักสูตรโดยย่อดังนี้

  1. การรู้จักดูแลตนเอง
  2. การช่วยเหลือผู้อื่น
  3. การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ
  4. ทักษะในทางวิชาลูกเสือ
  5. งานอดิเรกและเรื่องที่สนใจ
  6. คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
  7. ระเบียบแถว

ลูกเสือเอก มีหลักสูตรโดยย่อดังนี้

  1. การพึ่งตนเอง
  2. การบริการ
  3. การผจญภัย
  4. วิชาช่างของลูกเสือ
  5. ระเบียบแถว

นอกจากนี้ ลูกเสือ เนตรนารี สามัญ ที่ได้ขึ้นลูกเสือเอกมาแล้วและสามารถสอบวิชาพิเศษลูกเสือสามัญได้ 6 วิชา โดยที่มีวิชาพิเศษในหมวด ก. รวมอยู่ด้วย 1 วิชา และวิชาในหมวด ข. รวมอยู่ด้วย 1 วิชา จะสามารถประดับสายยงยศลูกเสือ เนตรนารี สามัญ

  • หมวด ก. นักผจญภัยในป่า, นักสำรวจ, นักบุกเบิก
  • หมวด ข. ชาวค่าย, ผู้ประกอบอาหารในค่าย, นักธรรมชาติศึกษา, นักดาราศาสตร์เบื้องต้น และนักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น

รายชื่อวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ

วิชาพิเศษลูกเสือสามัญจะมีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 50 วิชาพิเศษ ได้แก่

  1. นักจักสาน
  2. ช่างไม้
  3. ช่างหนัง
  4. ชาวนา
  5. ชาวสวน
  6. ชาวไร่
  7. นักเลี้ยงสัตว์เล็ก
  8. นักจักรยาน 2 ล้อ
  9. นักว่ายน้ำ
  10. ผู้ช่วยคนดับเพลิง
  11. ผู้ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  12. ผู้ให้การปฐมพยาบาล
  13. นักสังเกตและจำ
  14. การพราง
  15. ชาวค่าย
  16. ผู้ประกอบอาหารในค่าย
  17. ล่าม
  18. นักดนตรี
  19. นักผจญภัยในป่า
  20. นักสำรวจ
  21. มัคคุเทศก์
  22. ช่างเขียน
  23. นักสัญญาณ
  24. นักบุกเบิก
  25. นักธรรมชาติศึกษา
  26. ช่างเบ็ดเตล็ด
  27. ผู้บริบาลคนไข้
  28. นักจับปลา
  29. ผู้ช่วยต้นเด่น
  30. นักพายเรือ
  31. นักท้ายเรือบด
  32. นักกระเชียงเรือ
  33. นักแล่นเรือใบ
  34. นักดาราศาสตร์เบื้องต้น
  35. นักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น
  36. ยามอากาศเบื้องต้น
  37. นักเครื่องบินเล็กเบื้องต้น
  38. นักสะสม
  39. บรรณารักษ์
  40. นักกรีฑา
  41. นักขี่ม้า
  42. มวยไทยเบื้องต้น
  43. มวยไทยสากลเบื้องต้น
  44. กระบี่กระบองเบื้องต้น
  45. นักยิงปืนเบื้องต้น
  46. การอนุรักษ์ธรรมชาติ
  47. การหามิตร
  48. มารยาทในสังคม
  49. นิเวศวิทยา
  50. การพัฒนาชุมชน
  51. การใช้พลังงานทดแทน
  52. ลูกเสือโทพระมงกุฎ
  53. ลูกเสือเอกพระมงกุฎ
  54. สายยงยศ

ในแต่ละวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ จะมีหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่แตกต่างกันตามที่ระบุเอาไว้ใน ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2525

อย่างไรก็ดี แม้จะเห็นว่าวิชาพิเศษลูกเสือสามัญที่หยิบยกมามีมากถึง 54 วิชา แต่ในทางปฏิบัติจะพบว่ามีหลายวิชาที่ซ้ำซ้อนกับวิชาการเรียนการสอนที่อยู่ในระบบการศึกษาตามปกติของบางโรงเรียน อย่างเช่น มารยาทในสังคม บรรณารักษ์ และวิชาด้านกีฬา ทำให้วิชาพิเศษเหล่านี้จึงไม่ค่อยนำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาลูกเสือสามัญ

นอกจากนั้น วิชาพิเศษลูกเสือสามัญที่มีความเฉพาะทางอย่างวิชาพิเศษที่เกี่ยวกับน้ำและการเดินเรือ และวิชาพิเศษด้านการบิน ก็มักจะมีการจัดให้สอบวิชาพิเศษให้กับลูกเสือเนตรนารีสามัญเหล่าสมุทรและเหล่าอากาศ

ส่งผลให้ในทางปฏิบัติวิชาพิเศษของลูกเสือ เนตรนารี สามัญ ที่สามารถพบได้บ่อยจึงมักจะเป็น นักผจญภัยในป่า, นักสำรวจ, นักบุกเบิก, ชาวค่าย, ผู้ประกอบอาหารในค่าย, นักธรรมชาติศึกษา, นักดาราศาสตร์เบื้องต้น, นักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น, ผู้ให้การปฐมพยาบาล, และสายยงยศ เป็นต้น