วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ คือ วิชาพิเศษที่ลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่ สามารถเลือกสอบวิชาพิเศษตามที่ตนมีความถนัดและมีความสนใจ หลังจากที่ลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่ สอบได้เครื่องหมายลูกเสือโลกแล้ว
โดยสถานศึกษาจะเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการสอบวิชาพิเศษ และเมื่อดำเนินการสอบทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีเรียบร้อยแล้วสถานศึกษามีหน้าที่ทำเรื่องขออนุมัติผลการสอบไปยังผู้มีอำนาจอนุมัติต่อไป จากแนวปฏิบัตินี้ทำให้สถานศึกษาทั่วไปมักจะกำหนดให้สอบวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เหมือนๆ กันให้กับลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่
ซึ่งวัตถุประสงค์ของวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ได้แก่ 1) ส่งเสริมกิจกรรมการสอบวิชาพิเศษตามแนวทางการฝึกอบรมตามหลักสูตรข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ 2) เปิดโอกาสให้มีการสอบวิชาพิเศษตามความถนัด ความสนใจและความต้องการของลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่ และ 3) เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพในอนาคต
โดยวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะมีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 70 วิชาพิเศษ ซึ่งในบทความนี้เราจะหยิบยกวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่พบได้บ่อย 15 วิชา มาอธิบายคร่าวๆ ถึงจุดประสงค์และหลักสูตรเบื้องต้นของแต่ละวิชาพิเศษของลูกเสือวิสามัญ
พร้อมกับช่องทางการดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่แต่ละวิชาที่จัดทำโดยสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ (ดาวน์โหลดผ่าน Google Drive)
ข้ามไปยังส่วนที่ต้องการ
วิชานักสะกดรอย
วิชานักสะกดรอย คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่มีหลักสูตรเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับการค้นหาหรือการตามรอยสิ่งต่างๆ เช่น รอยเท้าคน รอยเท้าสัตว์ หรือเครื่องหมายต่างๆ ดังนั้น นักสะกดรอยในที่นี้จึงหมายถึง ลูกเสือที่ทำหน้าที่ค้นหาหรือสะกดรอยสิ่งต่างๆ รวมถึงการสังเกตจดจำสิ่งที่กำหนดไว้ตามจุดหมายหรือเส้นทาง ด้วยการทำเครื่องหมาย รอยเท้าคน สัตว์ต่างๆ ที่ปรากฏบนดิน ทราย หรือพื้นที่ที่สามารถสังเกตได้จากวัสดุธรรมชาติ ตลอดจนการสังเกตรอยเท้าสัตว์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่ลูกเสือจะต้องฝึก สังเกตความแตกต่างของรอยเท้า ในเรื่องของรูปร่าง สัดส่วน รวมทั้งรอยรองเท้า แล้วบันทึกตามความแตกต่าง
โดยวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในวิชานักสะกดรอย ได้มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นดังนี้
- รู้จักและสามารถอธิบายลักษณะที่แตกต่างกัน 2 อย่างของรอยเท้าคนที่แตกต่างกัน 3 รอย ทั้งที่สวมรองเท้าหรือไม่สวมรองเท้า
- สามารถอธิบายเหตุการณ์ 3 เรื่อง ได้ถูกต้องพอสมควรโดยพิจารณาจากรอยที่ปรากฏบนทรายหรือวัสดุธรรมชาติอย่างอื่น
- หล่อรอยเท้านก สัตว์ รถยนต์ หรือรถจักรยาน ด้วยปูนปลาสเตอร์ รวม 6 รอย ทุกรอยให้ทำด้วยตนเองทั้งสิ้น โดยให้มีฉลากบอกวันที่และสถานที่ที่หล่อรอยเหล่านั้นด้วยในจำนวนรอยดังกล่าวข้างต้น ต้องมีรอยเท้านกหรือสัตว์อย่างน้อย 2 รอย
- ทำทางสะกดรอย (Trail) มีระยะทางยาวอย่างน้อย 1 กิโลเมตร โดยให้มีเครื่องหมายทำด้วยวัสดุธรรมชาติที่แตกต่างกันอย่างน้อย 4 ชนิดจำนวนไม่น้อยกว่า 20 เครื่องหมาย ทางสะกดรอยดังกล่าวให้ทำบนเส้นทางที่ลูกเสือไม่คุ้นเคย
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักสะกดรอย
วิชานักเดินทางไกล
วิชานักเดินทางไกล คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เกี่ยวกับการเดินทางของลูกเสือโดยออกจากที่ตั้งไปยังจุดหมายที่กำหนดตามระยะทางที่ผู้กำกับลูกเสือกำหนดเอาไว้ จะเป็นการเดินทางไกลด้วยเท้า รถจักรยานหรือพายเรือก็ได้ จะเดินทางด้วยตัวคนเดียว หรือเดินทางไปด้วยกันเป็นหมู่คณะก็ได้
โดยปกติการเดินทางไกลจะเป็นการเดินทางภายในวันเดียวหรืออยู่ค่ายพักแรม ซึ่งจะต้องมีการเตรียมเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อมและเรียบร้อย ดังนั้น ในวิชาพิเศษนักเดินทางไกลของลูกเสือวิสามัญจึงเกี่ยวกับ การทำความเข้าใจความหมายของการเดินทางไกล อุปกรณ์สำหรับการเดินทางไกล หลักการเดินทางไกล ความรู้เรื่องการอนามัยส่วนบุคคล และประโยชน์ของการเดินทางไกล
หลักสูตรวิชาพิเศษนักเดินทางไกล ได้กำหนดเอาไว้ดังนี้
- สาธิตการบรรจุสิ่งของต่างๆ ลงในเครื่องหลังสำหรับเดินทางไกล 24 ชั่วโมง น้ำหนักเครื่องหลังไม่เกิน 20 กก. รวมทั้งอาหารด้วย สามารถอธิบายเหตุผลในการเลือกสิ่งของที่บรรจุในเครื่องหลัง
- เข้าร่วมการเดินทางไกล 3 ครั้ง ดังต่อไปนี้
- ครั้งที่ 1, 2 มีระยะทางแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 16 กม. นอนกลางแจ้ง 1 คืน
- ครั้งที่ 3 มีระยะทางไม่น้อยกว่า 48 กม. นอนกลางแจ้ง 2 คืน
- การเดินทางไกลทุกครั้ง ให้นำเครื่องหลังติดตัวไปด้วย และทำสมุดปูมให้ได้
มาตรฐานอันดี
- เลือกเส้นทางเดินทางไกลระยะทาง 24 กม. จากแผนที่ของทางการราชการ
โดยให้เหตุผลในการเลือกเส้นทางเช่นนั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในท้องถิ่นของตน - นำสิ่งของเครื่องใช้ในการเดินทางไกลอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เต็นท์ ถุงนอน
เครื่องหลัง หรือ ถุงสำหรับบรรจุเครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็น - มีความรู้เรื่องการอนามัยส่วนบุคคล เช่น การรักษาเท้า รองเท้า ถุงเท้า ฯลฯ
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักเดินทางไกล
วิชานักดาราศาตร์
วิชานักดาราศาตร์ คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่สามารถสังเกตได้ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดาวและวัตถุบนท้องฟ้าเอกภพ ซึ่งวิชาพิเศษวิชานักดาราศาสตร์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการดูดาว การหาทิศเหนือ กลุ่มดาวฤดูหนาว กลุ่มดาว 12 ราศี ระบบสุริยะ และท้องฟ้าจำลอง
โดยวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในวิชานักดาราศาตร์ ได้ถูกกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
- รู้จักดาวและกลุ่มดาวที่สำคัญ ซึ่งมองเห็นในเขตรุ้งที่ตนอยู่และรู้จัก ตำแหน่งที่อยู่ของดาวตามเวลาที่กำหนดให้
- สามารถบอกเวลาโดยการสังเกตดาว
- รู้จักทางช้างเผือก (Galactic System) และกลุ่มดาว (Star clusters)
- สร้างหุ่นจำลองอย่างธรรมดา เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะบางประการของระบบสุริยจักรวาล
- รู้จักเครื่องมือที่ใช้และงานที่ปฏิบัติในหอดูดาว รู้จักหอดูดาวที่สำคัญๆ ของโลกตลอดจนที่ตั้งและความเหมาะสมในทางธรรมชาติ รวมทั้งงานพิเศษที่หอดูดาวนั้นปฏิบัติอยู่ และรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับกล้องโทรทัศน์ของหอดูดาวนั้น ๆ
- มีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ในอวกาศ ดาวเทียม และการที่มนุษย์สามารถขึ้นไปถึงดวงจันทร์
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักดาราศาสตร์
วิชานักสะสม
วิชานักสะสม คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เกี่ยวกับการสะสม โดยมีวัตถุประสงค์ให้ลูกเสือรู้จักการสะสม
ในการสอบวิชานักสะสมของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จึงมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรดังนี้
- ทำการสะสมสิ่งของชนิดหนึ่งอย่างเรียบร้อย และจัดให้ถูกต้องตามระบบเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
- ลักษณะหรือเรื่องของการสะสมให้ลูกเสือเป็นผู้เลือก ตัวอย่างเช่น ดวงตราไปรษณียากร หน้าไม้ขีดไฟ เงินตรา เปลือกหอย แมลง แร่ธาตุ และวัตถุมงคล ฯลฯ
- การสะสมต้องมีปริมาณพอสมควร ซึ่งจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักสะสม
วิชาผู้จัดการค่ายพักแรม
วิชาผู้จัดการค่ายพักแรม คือ คือ วิชาที่กำหนดขึ้นสำหรับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการอยู่ค่ายพักแรมแล้วอย่างน้อย 5 ครั้ง สถานที่พักแรมแตกต่างกันอย่างน้อย 2 แห่ง ซึ่งถือว่ามีความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในการอยู่ค่ายพักแรมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาหาร การทำที่อยู่อาศัย การก่อกองไฟ การใช้ชีวิตในป่า รวมถึงการปฏิบัติตัวขณะอยู่ค่ายพักแรม
ดังนั้น ในการเรียนวิชาผู้จัดการค่ายพักแรม ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ทุกคนจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมามาอธิบายและสาธิตวิธีการต่างๆ ให้ผู้กำกับลูกเสือและคณะกรรมการได้อย่างถูกต้องเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถที่จะรับเครื่องหมายวิชาพิเศษวิชาผู้จัดการค่ายพักแรมได้ รวมทั้งสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับลูกเสือรุ่นน้องที่จะเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรมได
หลักสูตร วิชาผู้จัดการค่ายพักแรม
- ได้เคยไปอยู่ค่ายพักแรมมาแล้วในโอกาสต่างๆกัน 5 ครั้ง สถานที่พักแรมแตกต่างกันอย่างน้อย 2 แห่ง
- สาธิตเรื่องต่อไปนี้ 3 อย่าง
- การใช้ถ่านสำหรับหุงต้มอาหาร
- การก่อกองไฟสำหรับการชุมนุมรอบกองไฟ
- การกางเต็นท์สำหรับหมู่ลูกเสือ
- การตากเสื้อผ้าและเครื่องนอนที่เปียกชื้นให้แห้งในระหว่างที่อยู่ค่ายพักแรม
- การป้องกันไฟไหม้ระหว่างอยู่ค่ายพักแรม
- อธิบายและสาธิตวิธีต่างๆ ที่ใช้ในค่ายพักแรมในเรื่องต่อไปนี้ 4 อย่าง
- การระวังรักษาอาหาร
- การระวังรักษาน้ำดื่ม
- การระวังรักษาที่หุงต้มอาหาร
- การกำจัดขยะ
- การสร้างและระวังรักษาส้วมชั่วคราว
- มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ
- สาธิตความสามารถในการใช้เครื่องมือต่อไปนี้ 3 อย่าง
- ขวานสำหรับโค่นต้นไม้
- เลื่อย
- ค้อนหนัก เช่น สำหรับตอกเสา
- ผึ่งกากไม้
- เครื่องมือลิดกิ่งไม้
- เครื่องมือที่ใช้เครื่องยนต์ เช่น เครื่องยนต์ตัดหญ้า เลื่อย สว่านไฟฟ้า ฯลฯ
- สาธิตการบรรจุยาและเครื่องใช้ต่างๆ สำหรับการปฐมพยาบาลลูกเสือ 1 หมู่ ในระหว่างอยู่ค่ายพักแรมเป็นเวลา 7 วัน
- อภิปรายกับกรรมการสอบถึงสิ่งที่ตนอยากจะเห็นในการพัฒนาและปรับปรุงค่ายลูกเสือถาวรที่ตนคุ้นเคย
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาผู้จัดการค่ายพักแรม
วิชาหัวหน้าคนครัว
วิชาหัวหน้าคนครัว คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เกี่ยวกับการรับผิดชอบในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร เลือกซื้อ จัดเตรียมอาหารและประกอบอาหารให้ถูกหลักอนามัย และถูกต้องตามวิธีการของลูกเสือ โดยมีคนครัวเป็นผู้ช่วยเหลือในการประกอบอาหารให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับสมาชิกในหมู่และมีประโยชน์ โดยมีรายละเอียด คือ
โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรวิชาหัวหน้าคนครัวมีดังนี้
- ประกอบอาหารสำหรับลูกเสือ 1 หมู่ โดยมีการหุงข้าว นึ่งข้าวหรือหลามข้าว และทำกับข้าว 4 อย่าง
- รู้จักซื้ออาหาร จัดรายการอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีปริมาณเพียงพอสำหรับลูกเสือ 2 หมู่ หมู่ละ 5 คน ที่ไปอยู่ค่ายพักแรมเป็นเวลา 1 สัปดาห์ (กรรมการสอบเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินที่จะซื้ออาหารให้)
- สามารถประกอบอาหารร้อน 2 อย่างและเครื่องดื่มร้อน 1 อย่างได้โดยไม่ใช้ภาชนะอื่นใดนอกจากการใช้หม้อหุงต้มสนาม
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาหัวหน้าคนครัว
วิชานักอุตุนิยมวิทยา
วิชานักอุตุนิยมวิทยา คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของบรรยากาศและปรากฏการณ์ต่างๆ ของอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรดังนี้
- ทำบันทึกประจำวันเกี่ยวกับเรื่องลมฟ้าอากาศ จากการสังเกตด้วยตนเองเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ในบันทึกนั้น อย่างน้อยให้กล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้
- กำลังและทิศทางลม
- ชนิดและปริมาณของเมฆ
- ลมฟ้าอากาศ
- อุณหภูมิ
- ความกดอากาศ
- ปริมาณน้ำฝน
- เข้าใจประโยชน์ และหลักในการทำงานของเครื่องมือต่อไปนี้กับให้สร้างเครื่องมือแบบง่าย ๆ ขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด
- เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer)
- บาโรมิเตอร์ (barometer)
- เครื่องบันทึกแสงแดด (Sunshine Recorder)
- แอนิโมมิเตอร์ (Anemometer)
- เข้าใจวิธีทำและสามารถอ่านแผนที่อากาศ
- เข้าใจคำต่อไปนี้ และให้แสดงแผนผังประกอบคำอธิบายด้วย
- ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity)
- จุดน้ำค้าง (dew point)
- ไอโซบาร์ (isobar)
- มิลลิบาร์ (millibar)
- ไอโซเทอม (isotherm)
- แนวปะทะของอากาศเย็น (cold front)
- แนวปะทะของอากาศอุ่น (warm front)
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักอุตุนิยมวิทยา
วิชานักธรรมชาติวิทยา
วิชานักธรรมชาติวิทยา คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดหรือเป็นอยู่ตามธรรมดา โดยที่มิได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น โดยวิชาพิเศษนักธรรมชาติวิทยามีวัตถุประสงค์และเป้าหมายของวิชา ดังนี้
- แสดงหลักฐานว่า เป็นผู้สนใจในเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติโดยทั่วไป และมีความรู้ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดต่อไปนี้เป็นพิเศษ และให้มีการสะสม เก็บตัวอย่าง ทำสมุดปูมและอื่นๆ เพื่อแสดงว่ามีความสนใจในเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติโดยแท้จริง
- ต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่ม
- ดอกไม้ป่า
- ชีวิตของนก
- ผีเสื้อ หรือแมลงอย่างใดอย่างหนึ่ง
- สัตว์ป่า (พื้นเมือง)
- ต้นเฟิน หรือหญ้าชนิดต่างๆ
- ชีวิตตามชายทะเล หรือในสระ
- หิน หรือซากสัตว์และต้นไม้ที่กลายเป็นหิน
- อภิปรายกับกรรมการสอบถึงผลของการสังเกตของตนและแหล่งความรู้ที่ได้มา เช่น พิพิธภัณฑ์ หนังสือ เป็นต้น
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักธรรมชาติวิทยา
วิชาผู้พิทักษ์ป่า
วิชาผู้พิทักษ์ป่า คือ วิชาพิเศษเกี่ยวกับป่าไม้ ต้นไม้ และการดูแลรักษาป่าซึ่งมีประโยชน์ต่อการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิชาผู้พิทักษ์ป่าจึงประกอบด้วยวัตถุประสงค์ดังนี้
- สามารถบอกชื่อต้นไม้ต่างๆ 20 ชนิด รู้จักประโยชน์ของต้นไม้ชนิดต่างๆ และรู้จักไม้ที่เป็นเชื้อเพลิง ทั้งสามารถบอกชื่อต้นไม้ได้ในระยะไกลพอสมควร
- มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างต้นไม้ การกินอาหาร การหายใจและการเจริญเติบโตของต้นไม้ยืนต้น
- รู้จักอันตรายที่จะเกิดแก่ต้นไม้ยืนต้นและป่าไม้ จากสิ่งต่อไปนี้ คือ ไฟไหม้ แมลงต่างๆ เชื้อโรค และสัตว์ต่างๆ กับทั้งสามารถอธิบายถึงวิธีกำจัดอันตรายดังกล่าวข้างต้น
- รู้จักการทำแปลงเพาะชำ การย้ายต้นอ่อนที่เพาะชำไว้ไปปลูกที่ใหม่ ซึ่งได้จดเตรียมไว้แล้ว ทั้งรู้วิธีบำรุงรักษาต้นไม้ให้อยู่ในสภาพอันดี
- รู้จักโค่นและตกแต่งต้นไม้
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาผู้พิทักษ์ป่า
วิชานักผจญภัย
วิชานักผจญภัย คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่ท้าทายให้ลูกเสือได้ใช้กำลังความคิด ร่วมกันคิดแก้ปัญหา ช่วยกันทำอุปกรณ์ในการแก้ปัญหา ตลอดจนการตัดสินใจของนายหมู่ที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้สามารถนำหมู่ของตนพ้นเหตุการณ์ที่เผชิญอยู่นั้นไปได้ด้วยความสำเร็จและปลอดภัยด้วยกันทุกคน โดยมีหลักสูตรดังนี้
(1) เดินทางไกลไปอยู่ค่ายพักแรมเป็นเวลา 1 คืน การไปอยู่ค่ายพักแรมต้องเดินไปยังท้องถิ่นที่ลูกเสือไม่คุ้นเคย จำ นวนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่จะไปอยู่ค่ายพักแรมควรแบ่งเป็นชุด ชุดละ 4 คน การเดินทางไกลต้องมีระยะทางอย่างน้อย 8 กิโลเมตร และในระหว่างการเดินทาง ให้สมมติว่ามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 อย่าง เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือมีผู้ติดอยู่ในที่สูง การใช้เข็มทิศการปฏิบัติงานเวลากลางคืน การแปลรหัส และเหตุฉุกเฉินทางนํ้า เป็นต้น เหตุฉุกเฉินเช่นว่านี้ให้เว้นระยะห่างกันพอสมควรและลูกเสือจำ เป็นต้องมีความรู้ในเรื่องแผนที่และเข็มทิศจึงจะสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้การฝึกอบรมวิชานี้ต้องมีลักษณะเป็นการทดสอบอย่างจริงจังในเรื่องการตัดสินใจ ความคิดริเริ่ม และการพึ่งตนเอง
(2) สามารถปฏิบัติได้ 3 ข้อ ในเรื่องต่อไปนี้
- ขึ้นต้นไม้จากพื้นได้สูงไม่น้อยกว่า 5 เมตร
- ขว้างหรือโยนเชือกช่วยชีวิตยาว 18 เมตร ให้ตกอยู่ในระหว่างหลัก 2 หลัก ซึ่งปักห่างกัน 1.20 เมตร โดยผู้ขว้างยืนอยู่ห่างหลักทั้งสอง 15 เมตรให้เชือกตกอยู่ในระหว่างหลัก กำหนด 2 ครั้ง ใน 3 ครั้ง
- ไต่เชือกจากพื้นได้สูง 4.50 เมตร
- โรยตัวตามเชือกสูง 6 เมตร
- ว่ายนํ้าโดยสวมเครื่องแต่งกายเป็นระยะทาง 18 เมตร
- กระโดดข้ามเครื่องกีดขวางสูง 2 ใน 3 ของส่วนสูงตัวเอง
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักผจญภัย
วิชาล่าม
วิชาล่าม คือ วิชาพิเศษเกี่ยวกับการแปลภาษาต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่แปลคำพูดของฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ
หลักสูตรวิชาพิเศษ วิชาล่าม ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จึงจะต้องผ่านการทดสอบต่อไปนี้ โดยใช้ภาษาต่างประเทศ
- สนทนาอย่างง่ายๆ เป็นเวลาประมาณ 15 นาที โดยใช้ศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับกิจการลูกเสือ เช่น การลูกเสือ ลูกเสือสำ รอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ หมู่ลูกเสือ ค่ายพักแรม เต็นท์ นายหมู่ลูกเสือ รองนายหมู่ลูกเสือ ผู้กำกับลูกเสือ รองผู้กำกับลูกเสือ ผู้ตรวจการลูกเสือ ฯลฯ
- เขียนจดหมายเกี่ยวกับเรื่องลูกเสือ มีข้อความประมาณ 200 คำ
- อ่านออกเสียงพอให้ฟังรู้เรื่องจากข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารที่มีความยากง่ายพอสมควร และแปลข้อความที่อ่านนั้นอย่างคร่าวๆ โดยไม่ต้องใช้พจนานุกรม
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาล่าม
วิชานักบุกเบิก
วิชานักบุกเบิก คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เกี่ยวกับเงื่อนเชือกและการใช้ประโยชน์จากเงื่อนเชือก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินคุณลักษณะของเชือก การผูกเงื่อน การดูแลรักษาเชือก การเลือกใช้เงื่อนเชือกอย่างเหมาะสม ตลอดจนการประยุกต์ใช้เงื่อนเชือกสำหรับการบุกเบิก
โดยวัตถุของหลักสูตรวิชาพิเศษวิชานักบุกเบิก จะมีดังนี้
- เข้าใจลักษณะสำคัญของชนิดและขนาดต่างๆ ของเชือกที่คนทำ ขึ้น และพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ที่อาจใช้เป็นเชือก เช่น หวาย ป่าน ปอ กก เถาวัลย์ ฯลฯ รู้จักวิธีขดและรักษาเชือก ตลอดจนวิธีประเมินกำลังและลักษณะของเชือก
- สามารถดูแลความปลอดภัยอย่างมั่นใจในการใช้เชือก เข้าใจอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของผู้นำ การไม่รักษาวินัย การใช้เครื่องมือที่ผิดพลาดหรือเกินกำลัง และการผูกเงื่อนเชือกที่ไม่ถูกต้อง เข้าใจอันตรายฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นเนื่องจากเชือกขาดหรือคลายเกลียว
- เข้าใจและสามารถแสดงวิธีใช้สมอบกที่เหมาะสมแก่โครงการสถานที่ และที่ดินต่างๆ รวมทั้งพื้นดินที่ซุยหรือเฉอะแฉะ
- สามารถแสดงความชำนาญในการผูกเงื่อน การผูกแน่น การแทงเชือก และการพันหัวเชือกในระหว่างการเดินทางระยะสั้น แต่ต้องใช้เทคนิคต่างๆ ในการบุกเบิกตามสถานการณ์ดังที่กรรมการผู้สอบกำ หนดให้อย่างน้อย 3 ใน 4 ของสถานการณ์เหล่านี้จะต้องทำให้สำเร็จเป็นที่พอใจ โดยให้เทคนิคที่ถูกต้องและไม่ชักช้าจนเกินไป
- แสดงบทบาทสำคัญโดยมิใช่เป็นหัวหน้า ในการจัดทำโครงการบุกเบิกของหมู่ลูกเสือโครงการหนึ่งซึ่งกรรมการสอบเลือกให้หมู่ลูกเสือเป็นผู้ดำเนินการจัดทำ
- เป็นผู้นำของหมู่ในการจัดทำตามโครงการบุกเบิกที่ตนร่างขึ้นเอง โดยมิได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใด แบบโครงการนี้จะต้องมีภาพประกอบและแบบจำลอง มีมาตราส่วน วิธีดำเนินงาน รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับบรรดาเครื่องใช้ที่จำเป็น และกำหนดเวลาปฏิบัติงานโดยประมาณ
หมายเหตุ
- ลูกเสือมีอิสระในการเลือกชนิดหรือปัญหาของโครงการ แต่อาจขอคำแนะนำจากกรรมการสอบได้
- โครงการก่อสร้างตามข้อ 5 และ 6 ต้องเป็นชนิดต่างๆ กัน คือ แพหอคอย เสากระโดง สะพาน ปั้นจั่น ฯลฯ และมีขนาดพอสมควรเหมาะที่จะใช้ทักษะในการเทคนิคของการบุกเบิก
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชานักบุกเบิก
วิชาแผนที่ทหารและเข็มทิศ
วิชาแผนที่ทหารและเข็มทิศ คือ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เกี่ยวกับความรู้ในการใช้แผนที่ที่แสดงรายละเอียดของภูมิประเทศบนพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ร่วมกับการใช้เข็มทิศ
โดยวิชาแผนที่ทหารและเข็มทิศมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรดังนี้
- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่ทหารต่อไปนี้
- ความหมายและชนิดของแผนที่ระวางต่างๆ
- มาตราส่วน ข่าวสาร ของระวาง สี และเครื่องหมายที่แสดงในแผนที่นั้นๆ
- ทิศทาง ทิศเหนือจริง ทิศเหนือแม่เหล็ก ทิศเหนือกริดมุมเยื้อง
- ความสูง ทรวดทรง และเส้นลายขอบเขา (เส้นชั้นความสูง)
- สามารถกำหนดที่ตั้งลงบนแผนที่ด้วยพิกัดทางภูมิศาสตร์ พิกัดทางทหาร พิกัดโปล่า และพิกัดเส้นสมมติ
- สามารถพิจารณาลักษณะภูมิประเทศเปรียบเทียบกับแผนที่
- แสดงการหาทิศเหนือด้วยวิธีการต่างๆ โดยไม่ใช้เข็มทิศ 3 วิธี
- แสดงการวางแผนที่ให้ถูกทิศ
- รู้จักชนิดของเข็มทิศทั่วไป และเข็มทิศที่ใช้ทางทหาร
- สามารถกำหนดจุดลงบนแผนที่ด้วยการเล็งตรง การเล็งสกัดกลับ เพื่อหาที่อยู่ของตนเอง
- สามารถเดินทางในภูมิประเทศด้วยเข็มทิศหรือวิธีอื่นๆ เช่น ดาราศาสตร์
- มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาพถ่ายทางอากาศ
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาแผนที่ทหารและเข็มทิศ
วิชาหน้าที่พลเมือง
วิชาหน้าที่พลเมือง คือ วิชาพิเศษของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่เรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การเป็นพลเมืองดี ท้องถิ่น และการช่วยเหลือผู้อื่น
ด้วยเหตุนี้วิชาหน้าที่พลเมืองจึงมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเกี่ยวกับ
- เขียนแผนที่สังเขป 2 แผ่น
- แสดงเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดที่สำนักงานของกลุ่ม หรือกองลูกเสือตั้งอยู่
- แสดงเขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล หรือเขตอำเภอที่สำนักงานของกลุ่ม หรือกองลูกเสือตั้งอยู่
- ได้ศึกษาระบบการปกครองท้องถิ่นของตนและของประเทศตลอดจนวิธีการเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยปากเปล่าหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
- เขียนประวัติย่อ (1,000 ถึง 2,000 คำ ) ของหมู่บ้าน อำ เภอ และจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่
- แสดงหลักฐานว่า ตนกำลังช่วยเหลือเพื่อนบ้านของตน โดยเฉพาะคนพิการหรือคนชรา หรือมีหลักฐานว่า กำลังเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเตรียมให้การช่วยเหลือดังกล่าวข้างต้น
- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองดี
ดาวน์โหลดคู่มือวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ วิชาหน้าที่พลเมือง
วิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่อื่นๆ
- การพยาบาล
- นักอนุรักษ์ธรรมชาติ
- นักดับเพลิง
- นักยิงปืน
- นักสัญญาน
- นักสารพัดช่าง
- การสื่อสารด้วยยานพาหนะ
- นักโบราณคดี
- นักดนตรี
- นักถ่ายภาพ
- นักกีฬา
- นักกรีฑา
- นักพิมพ์ดีด
- บรรณารักษ์
- นักแสดงการบันเทิง
- มัคคุเทศก์
- วิชาพลาธิการ
- เลขานุการ
- ผู้ช่วยการจราจร
- ช่างเขียน
- ช่างไฟฟ้า
- ช่างวิทยุ
- ช่างแผนที่
- ช่างเครื่องยนต์
- อีเล็กทรอนิกส์
- การหามิตร
- การฝีมือ
- การช่วยผู้ประสบภัย
- การสาธารณสุข
- การพูดในที่สาธารณะ
- การประชาสัมพันธ์
- การสังคมสงเคราะห์
- การพัฒนาชุมชน
- ชาวประมง
- ต้นเด่น
- ผู้นำร่อง
- นักเล่นเรือใบ
- นักว่ายน้ำ
- นักพายเรือ
- นักกระเชียงเรือ
- กลาสีเรือ
- การควบคุมการจราจรทางน้ำ
- การป้องกันความเสียหายและดับเพลิงไหม้บนเรือ
- การเรือ
- การดำรงชีพในทะเล
- เครื่องหมายชาวเรือ
- เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าสมุทร
- นักเครื่องบินเล็ก
- ช่างอากาศ
- ยามอากาศ
- การควบคุมการจราจรทางอากาศเบื้องต้น
- การควบคุมการจราจรทางอากาศ
- การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและดับเพลิงอากาศยาน
- การฝึกเป็นผู้นำ
- นักปฏิบัติการทางจิตวิทยา (ปจว.)
- การขนส่งทางอากาศ
- เสนารักษ์
- การดำรงชีพในถิ่นทุรกันดาร
- นักไต่ผา
- เครื่องหมายการบิน
- เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าอากาศ
- เครื่องหมายผู้ฝึกสอน
โดยแต่ละวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ในแต่ละวิชาพิเศษจะมีหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่แตกต่างกันตามที่ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนใน ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2528