เงื่อนกากบาท และวิธีการผูกกากบาท

เมื่อ

โดย

เงื่อนกากบาท คือ วิธีผูกเงื่อนกากบาท ผูกกากบาท

เงื่อนกากบาท คือเงื่อนที่ใช้สำหรับการผูกกากบาทระหว่างไม้ 2 เสาที่นำมาซ้อนกันเป็นรูปกากบาทหรือรูปกางเขนในมุม 90 องศา ซึ่งใช้เป็นเงื่อนในการผูกแน่นเพื่อยึดโครงสร้างให้แน่นหนา

ประโยชน์ของ เงื่อนกากบาท (Square Lashing Knot) จึงมักพบได้ในการใช้ทำนั่งร้านในงานก่อสร้าง ทาสี และการใช้ในโครงสร้างต่างๆ ในการสร้างค่ายพักชั่วคราวของลูกเสือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการมีการยึดโครงสร้างให้แน่นหนา

วิธีผูกเงื่อนกากบาท

วิธีผูกเงื่อนกากบาทจะเริ่มต้นจากการนำเอาไม้หรือเสา 2 ท่อนมาวางซ้อนกันเป็นรูปกากบาทเป็นมุมฉาก ซึ่งจะแบ่งเป็นเสาอันตั้งและเสาอันขวาง โดยให้เสาอันตั้งอยู่ใต้เสาอันขวาง

การผูก เงื่อนกากบาท Square Lashing Knot
วิธีการผูกเงื่อนกากบาท

จากนั้นใช้เชือกผูกเงื่อนตะกรุดเบ็ดที่เสาอันตั้งใต้เสาอันขวาง

ขั้นตอนต่อมา เอาปลายเชือกแต่งงานกับตัวเชือกแล้วอ้อมใต้เสาอันขวางทางด้านขวา (หรือซ้าย ตามต้องการ) ของเสาตั้งแล้วดึงเชือกขึ้นเหนือเสาแนวขวาง แล้วพันเชือกอ้อมไปด้านหลังเสาแนวตั้งไปทางซ้ายของเสาแนวตั้ง

จากนั้นให้ดึงเชือกอ้อมมาทางด้านหน้าพันลงใต้เสาแนวขวาง แล้วดึงอ้อมไปด้านหลังเสาอันตั้งผ่านมาทางด้านขวาของเสาอันตั้ง

ต่อมาให้ดึงเชือกขึ้นพาดบนเสาอันขวางทางขวาเสาอันตั้ง จากนั้นพันตั้งต้นใหม่เหมือนเริ่มแรก โดยในแต่ละรอบจะต้องดึงให้เชือกตึงและเรียงเส้นเชือกให้เรียบ

สุดท้าย พันวนซ้ำไปเรื่อย ๆ ไปประมาณ 3 – 4 รอบ แล้วจึงพันหักคอไก่ 2 – 3 รอบ แล้วเอาปลายเชือกผูกตะกรุดเบ็ดที่เสาแนวขวาง (ซึ่งเป็นเสาตรงข้ามของเสาที่เริ่มผูก)

การผูกกากบาทแบบกิลเวลล์

การผูกกากบาทแบบกิลเวลล์ (Gilwell Scaffold Lashing) เป็นเงื่อนกากบาทที่มีวิธีผูกเหมือนกับเงื่อนกากบาทแบบ Square Lashing ในหัวข้อที่แล้ว

เพียงแต่มีจุดแตกต่างตรงที่จะต้องพันคอไก่ทุกรอบที่พัน พันและหักคอไก่ประมาณ 3 รอบ แล้วจึงจบลงด้วยผูกเงื่อนตระกรุดเบ็ด

การผูกกากบาทแบบกิลเวลล์

เงื่อนกากบาทญี่ปุ่น

เงื่อนกากบาทญี่ปุ่น (Japanese Lashing) จะเริ่มจากการนำเชือกที่จะผูกทบเข้าด้วยกันแล้วคล้องเสาต้นตั้ง

ขั้นตอนต่อมาให้ดึงปลายเชือกที่ทบกันพันพาดบนเสาต้นขวางทางด้านบนซ้าย จากนั้นดึงอ้อมลงมาให้เสาแนวขวางทางซ้ายของเสาแนวตั้ง

จากนั้นดึงอ้อมขึ้นด้านหน้าเสาแนวตั้ง ในลักษณะเดียวกันกับ Square Lashing แต่พันพร้อมกันทีละ 2 ชาย

เมื่อพันได้ความกว้างตามต้องการแล้วแยกปลายเชือกออกจากกัน หักคอไก่ 2-3 รอบ แล้วผูกด้วยเงื่อนพิรอด

จุดเด่นของเงื่อนกากบาท

  • ความแข็งแรง: เงื่อนกากบาทมีความแข็งแรงสูง เนื่องจากการขมวดเชือกสลับกันไปมาหลายชั้น ทำให้เกิดแรงเสียดทานที่มากพอที่จะยึดวัตถุให้แน่น
  • ความมั่นคง: เงื่อนกากบาทมีความมั่นคงสูง ไม่ง่ายต่อการคลายตัว แม้จะถูกแรงดึงหรือแรงกระแทก
  • ความยืดหยุ่น: เงื่อนกากบาทสามารถปรับขนาดให้เข้ากับวัตถุที่ต้องการผูกได้หลากหลายขนาดและรูปร่าง
  • ง่ายต่อการเรียนรู้: วิธีการผูกเงื่อนกากบาทนั้นไม่ซับซ้อน สามารถเรียนรู้ได้ง่ายและนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
  • สวยงาม: เมื่อผูกเงื่อนกากบาทอย่างถูกต้อง จะได้เงื่อนที่เรียบร้อยและสวยงาม

ประโยชน์ของเงื่อนกากบาท

  • งานช่างไม้: ใช้ในการผูกไม้ไผ่สร้างซุ้ม ผูกโครงสร้างต่างๆ เพื่อให้มีความแข็งแรงและมั่นคง
  • การก่อสร้าง: ใช้ในการยึดเสาเข็ม เสาคาน หรือโครงสร้างชั่วคราว
  • กิจกรรมกลางแจ้ง: ใช้ในการยึดเสาเต็นท์ ผูกเป้สะพายหลัง หรือรัดสัมภาระ
  • งานหัตถกรรม: ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ไผ่ หรือตกแต่งงานฝีมือต่างๆ
  • การช่วยเหลือฉุกเฉิน: ใช้ในการผูกเปลหาม หรือยึดวัตถุต่างๆ เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

จะเห็นว่าการใช้เงื่อนกากบาทในชีวิตประจำวันมีมากกว่าการใช้ใน การก่อสร้างหรือกิจกรรมกลางแจ้ง แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดเก็บของในการรัดกล่องกระดาษหรือมัดของให้เป็นระเบียบ การมัดสิ่งของทั่วไปอย่างกิ่งไม้หรือเศษวัสดุที่ต้องการกำจัด การทำสวนในการผูกต้นไม้หรือสร้างโครงสร้างสำหรับพืชเลื้อย และใช้กับการเดินทางในการยึดสัมภาระบนหลังคารถหรือภายในรถ เป็นต้น