รหัสมอร์ส คือ วิธีการส่งสัญญาณข้อความผ่านชุดสัญญาณเสียง สัญญาณไฟ หรือเสียงเคาะ และจะมีลักษณะเป็นขีดและจุด โดยสามารถเทียบเคียงกับเสียงอักษรแล้วแปลงออกมาเป็นข้อความ
เช่น … -.-. — ..- – จะแปลงออกมาได้เป็นคำว่า SCOUT
และ … -.-. — ..- – …. .-.-.- — .-. –. ที่แปลงออกมาเป็นคำว่า SCOUTH.ORG
รหัสมอร์ส (Morse Code) คิดค้นขึ้นครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1830 โดย ซามูเอล เอฟ. บี. มอร์ส (Samuel F. B. Morse) และ อัลเฟรต เวล (Alfred Vail) ได้คิดค้นเครื่องส่งโทรเลขโดยใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมสนามแม่เหล็กของเครื่องรับปลายทางผ่านทางสายส่งสัญญาณ เพื่อใช้ในการสื่อสารผ่านทางโทรเลข ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่สำคัญในยุคนั้น และยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบันแม้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน การศึกษา หรือแม้กระทั่งงานอดิเรก
วิธีอ่านรหัสมอร์ส
ในการอ่านรหัสมอร์ส จะอ่านจุดและขีดในรหัสมอร์ส ได้ดังนี้
• จุด อ่านออกเสียงว่า ดิท “Dits”
– ขีด อ่านออกเสียงว่า ดะห์ “Dahs”
รหัสมอร์ส อังกฤษ (สากล)
รหัสมอร์สภาษาอังกฤษ เป็นรหัสมอร์สพื้นฐานที่ใช้กันทั่วโลก รู้จักกันในอีกชื่อคือ รหัสมอร์สสากล
ตัวเลขในรหัสมอร์ส
1 ·– – – –
2 ··– – –
3 ···– –
4 ····–
5 ·····
6 –····
7 – –···
8 – – –··
9 – – – –·
0 – – – – –
เครื่องหมายในรหัสมอร์ส
มหัพภาค [.] ·–·–·–
ทวิภาค [:] – – –···
จุลภาค [,] – –··– –
อัฒภาค [;] –·–·–·
ปรัศนี [?] ··– –··
เสมอภาค [ = ] –···–
ฝนทอง [‘] ·– – – –·
เส้นแบ่งเศษส่วน –··–·
อัศเจรีย์ [!] –·–·– –
ยัติภังค์ [-] –····–
ทับ [/] –··–·
ขีดล่าง [_] ··– – ·–
วงเล็บเปิด [(] –·– –·
อัญประกาศ [“] ·–··–·
วงเล็บปิด [)] –·– –·–
เครื่องหมายดอลลาร์ [$] ···–··–
เครื่องหมายและ [&] ·–···
เครื่องหมาย At [@] ·– –·–·
รหัสมอร์ส ไทย
รหัสมอร์สภาษาไทย เป็นรหัสมอร์สที่มีอักขระเฉพาะที่แตกต่างจากภาษาอังกฤษ โดยได้มีการกำหนดรหัสมอร์สภาษาไทยและใช้เป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างหน่วยงานราชการ ผ่านเครื่องรับส่งสัญญาณรหัสมอร์ส หรือเครื่องโทรเลข
รหัสมอร์ส สระในภาษาไทย
ะ .-… สากล &
า .- สากล a
อิ ..-.. สากล é
อี .. สากล i
อึ ..–. สากล ü.
อื ..– สากล ü
อุ ..-.- สากล u.-
อู —. สากล ö
เ . สากล e
แ .-.- สากล ä
โ — สากล o
ไ และ ใ .-..- สากล è
-ั .–.- สากล à
-็ —.. สากล 8
-ำ …-. (ไม่ซ้ำกับรหัสมอร์สสากล)
รหัสมอร์ส วรรณยุกต์ในภาษาไทย
ไม้เอก ..- (สากล คือ u)
ไม้โท …- (สากล คือ v)
ไม้ตรี –… (สากล คือ 7)
ไม้จัตวา .-.-. (สากล คือ +)
รหัสมอร์ส เครื่องหมายในภาษาไทย
การันต์ –..-
ไม้ยมก -.—
” ” .-..-.
( ) -.–.-
ฯ –.-.
ฯลฯ —.-
ข้อมูลอ้างอิงจาก รหัสมอร์ส (Wikipedia TH) และ Morse Code (Wikipedia EN)