คติพจน์ลูกเสือ คือ คำที่ลูกเสือใช้เป็นคติเพื่อเป็นแนวทางของลูกเสือในการปฏิบัติตน โดยคติพจน์ของลูกเสือจะแตกต่างกันตามประเภทของลูกเสือทั้ง 4 ประเภท รวมถึงเนตรนารี
“คติ” แปลว่า หลัก แบบอย่าง วิถี หรือแนวทาง ส่วน “พจน์ หรือ พจน” แปลว่า คำพูด หรือถ้อยคำ ดังนั้นเมื่อรวมกันคำว่า “คติพจน์ลูกเสือ” จึงหมายถึง คำที่ลูกเสือใช้เป็นแนวทางหรือหลักในการปฏิบัติของลูกเสือ
คติพจน์ลูกเสือทั้ง 4 ประเภทมีดังนี้
- คติพจน์ลูกเสือลูกเสือสำรอง คือ ทำดีที่สุด
- คติพจน์ลูกเสือลูกเสือสามัญ คือ จงเตรียมพร้อม
- คติพจน์ลูกเสือลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ คือ มองไกล
- คติพจน์ลูกเสือลูกเสือวิสามัญ คือ บริการ
ซึ่งถ้าพิจารณาลูกเสือจะเห็นว่า คติพจน์ของลูกเสือไม่ว่าจะเป็นของลูกเสือประเภทใดล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ช่วยให้ลูกเสือมีคุณธรรมจริยธรรม พัฒนาตนเอง และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นทั้งสิ้น
คติพจน์ลูกเสือสำรอง
คติพจน์ของลูกเสือลูกเสือสำรอง คือ ทำดีที่สุด (ภาษาอังกฤษ Do Our Best)
ทำดีที่สุด ที่เป็นคติพจน์ลูกเสือสำรองมุ่งเน้นไปที่ความเรียบง่ายตามวัตถุประสงค์และวิธีการในการฝึกอบรมลูกเสือที่เหมาะสมกับวัยของลูกเสือ คติพจน์ลูกเสือลูกเสือสำรองจึงเป็นข้อความที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจของเด็กวัยดังกล่าว ซึ่งทำดีที่สุดในที่นี้หมายถึงการให้ลูกเสือสำรองปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
คติพจน์ลูกเสือสามัญ
คติพจน์ของลูกเสือลูกเสือสามัญ คือ จงเตรียมพร้อม (ภาษาอังกฤษ Be Prepared)
จงเตรียมพร้อม หมายถึง การให้ลูกเสือ-เนตรนารีตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจในการปฏิบัติหน้าที่ของลูกเสือ รวมถึงการเตรียมพร้อมอย่างรอบด้านเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่ไม่คาดคิดต่าง ๆ
คติพจน์ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
คติพจน์ลูกเสือลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ คือ มองไกล (ภาษาอังกฤษ Look Wide)
คำว่ามองไกลที่เป็นคติพจน์ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ซึ่งเป็นคติพจน์ที่ทุกคนน่าคุ้นเคยมากที่สุด คือ การให้ลูกเสือตระหนักถึงการมองให้ไกลและกว้าง เพื่อมองให้เห็นความจริงของสิ่งต่าง ๆ ในทุกแง่มุม ตลอดจนผลกระทบที่ส่งผลจากการกระทำของลูกเสือด้วย
คติพจน์ลูกเสือวิสามัญ
คติพจน์ลูกเสือลูกเสือวิสามัญ คือ บริการ (ภาษาอังกฤษ Service)
เหตุผลที่คติพจน์ลูกเสือลูกเสือวิสามัญคือ “บริการ” มาจากการที่เป้าหมายวัตถุประสงค์ของลูกเสือวิสามัญและเนตรนารีวิสามัญคือการฝึกอบรมโดยจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาด้านผู้นำ การฝึกอบรมร่วมกันเป็นกอง การบริการชุมชน และการผจญภัย
โดยการบริการในที่นี้หมายถึงการที่ลูกเสือสามัญกระทำการบริการกระทำด้วยความตั้งใจที่จะทำให้ผู้อื่นหรือผู้รับบริการได้รับสิ่งที่เหมาะสมที่สุดโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน