หน่วยวัดความยาว มีอะไรบ้าง รู้จักมาตราวัดความยาวทุกรูปแบบ

เมื่อ

โดย

ในหมวด

หน่วยวัดความยาว มีอะไรบ้าง มาตราวัดความยาวทุกรูปแบบ หน่วยวัดความยาวแบบเมตริก แบบอังกฤษ แบบสหรัฐ

หน่วยวัดความยาว เป็นเรื่องพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่ช่วยในการวัดขนาดในการความยาวของวัตถุ ระยะทาง ตลอดจนการใช้ประโยชน์ในการเป็นมาตรฐานของการเปรียบเทียบ ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยการวัดความยาวมีหลายระบบที่นิยมใช้ ที่เราสามารถจำแนกออกเป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ หน่วยวัดความยาวที่นิยมใช้ และ หน่วยการวัดความยาวอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างหน่วยวัดความยาวของไทย

ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก หน่วยวัดความยาว ทุกรูปแบบที่อาจสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันว่าหน่วยวัดความยาวมีอะไรบ้าง ทั้งที่เป็นที่นิยมอย่างหน่วยวัดความยาวแบบระบบเมตริก และหน่วยมาตราวัดความยาวระบบ Imperial ของอังกฤษ ที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ตลอดจนหน่วยวัดความยาวที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มที่คุณอาจพบได้

หน่วยวัดความยาวมีอะไรบ้าง?

หน่วยวัดความยาว ในโลกของเราสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักที่เป็นมาตราวัดความยาวที่ได้รับความนิยม คือ หน่วยวัดความยาวแบบเมตริก และหน่วยวัดความยาวแบบอิมพีเรียล

หน่วยวัดความยาวแบบเมตริก (Metric System) ที่มีหน่วยเป็น “เมตร” เป็นหน่วยวัดความยาวหลักที่ใช้กันทั่วโลก ยกเว้นบางประเทศไม่กี่ประเทศที่ใช้ระบบอิมพีเรียล

หน่วยวัดความยาวแบบอิมพีเรียล (Imperial System) เป็นหน่วยวัดความยาว เป็นหน่วยวัดความยาวที่ยังคงใช้ในสหรัฐอเมริกา พม่า และไลบีเรีย

หน่วยวัดความยาวแบบเมตริก (Metric System)

หน่วยวัดความยาวแบบเมตริก (Metric System) โดยพื้นฐานที่สุดจะมีหน่วยเป็น “เมตร” ตามชื่อ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยโดยเปรียบเทียบหน่วยการวัดความยาวแบบเมตริก ได้ดังนี้

  • 1 เซนติเมตร เท่ากับ 10 มิลลิเมตร
  • 1 เมตร เท่ากับ 100 เซนติเมตร
  • 1 กิโลเมตร เท่ากับ 1,000 เมตร

นอกจากนั้น หน่วยวัดความยาวระบบเมตริกยังรวมไปถึงเดซิเมตร (Decimeter : dm), เดคาเมตร (Decametre : dam), และ เฮกโตเมตร (Hectometer : hm) ที่พบได้ไม่บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่มักจะใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

  • 1 เซนติเมตร = 10 มิลลิเมตร
  • 1 เดซิเมตร = 10 เซนติเมตร
  • 1 เมตร = 10 เดซิเมตร
  • 1 เมตร = 100 เซนติเมตร
  • 1 เดคาเมตร = 10 เมตร
  • 1 เฮกโตเมตร = 10 เดคาเมตร
  • 1 กิโลเมตร = 10 เฮกโตเมตร
  • 1 กิโลเมตร = 1,000 เมตร

หน่วยวัดความยาวแบบอิมพีเรียล (Imperial System)

หน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ ประกอบด้วย 4 มาตราวัด ได้แก่ นิ้ว (inch), ฟุต (foot), หลา (yard) และไมล์ (mile)

  • 12 นิ้ว เท่ากับ 1 ฟุต
  • 3 ฟุต เท่ากับ 1 หลา
  • 1,760 หลา เท่ากับ 1 ไมล์

และเมื่อเทียบหน่วยวัดความยาวระบบอังกฤษกับระบบเมตริก ได้ดังนี้

  • 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร
  • 1 ฟุต เท่ากับ 30.48 เซนติเมตร
  • 1 หลา เท่ากับ 91.44 เซนติเมตร
  • 1 ไมล์ เท่ากับ 1.6093 กิโลเมตร

หน่วยวัดความยาวเฉพาะกลุ่ม

นอกเหนือจากหน่วยวัดความยาวที่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างทั่วโลกทั้ง 2 รูปแบบข้างต้นแล้ว เรายังสามารถพบหน่วยวัดความยาวแบบเฉพาะกลุ่มที่สามารถพบได้บ้างในบางบริบท ได้แก่

หน่วยวัดระยะทางในดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit, AU): ใช้สำหรับวัดระยะทางในระบบสุริยะ 1 AU = ระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ประมาณ 149.6 ล้านกิโลเมตร

ปีแสง (Light Year): ระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี ประมาณ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร

หน่วยวัดระยะทางทางทะเล

ไมล์ทะเล (Nautical Mile): 1 ไมล์ทะเล = 1.852 กิโลเมตร

สายวัดทะเล (Fathom): 1 สายวัดทะเล = 6 ฟุต หรือประมาณ 1.8288 เมตร

หน่วยวัดความยาวของไทย

หน่วยวัดความยาวของไทย เป็นหน่วยวัดความยาวที่เรามักจะรู้จักกันในมาตราวัดความยาวในลักษณะของ วา ศอก และเส้น

โดยคุณสามารถเปรียบเทียบหน่วยความยาวระหว่างหน่วยวัดความยาวไทย ได้ดังนี้

  • 1 กระเบียด เท่ากับ 0.5208 เซนติเมตร
  • 1 นิ้ว เท่ากับ 4 กระเบียด
  • 1 คืบ เท่ากับ 10 นิ้ว, 12 นิ้ว
  • 1 ศอก เท่ากับ 2 คืบ
  • 1 วา เท่ากับ 4 ศอก
  • 1 เส้น เท่ากับ 20 วา
  • 1 โยชน์ เท่ากับ 400 เส้น

และสามารถเปรียบเทียบหน่วยความยาวโดยนำหน่วยวัดความยาวของไทยไปเปรียบเทียบกับระบบเมตริก ได้ดังนี้

  • 1 กระเบียด เท่ากับ 0.5208 เซนติเมตร
  • 1 นิ้ว เท่ากับ 2.5 เซนติเมตร
  • 1 คืบ เท่ากับ 25 เซนติเมตร
  • 1 ศอก เท่ากับ 50 เซนติเมตร
  • 1 ศอก เท่ากับ 2 เมตร
  • 1 เส้น เท่ากับ 40 เมตร
  • 1 โยชน์ เท่ากับ 16 กิโลเมตร

หน่วยวัดโบราณหรือท้องถิ่น

ลี้: หน่วยวัดจีนโบราณที่ยังใช้ในบางบริบท 1 ลี้ = ประมาณ 500 เมตร

คิวบิต (Cubit): หน่วยวัดในยุคโบราณ ใช้ในอารยธรรมเมโสโปเตเมียและอียิปต์ โดยประมาณความยาวจากศอกถึงปลายนิ้วมือ

ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยวัดความยาวกับหน่วยวัดพื้นที่

หน่วยวัดความยาว และ หน่วยวัดพื้นที่ เป็นหน่วยวัดที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากพื้นที่นั้นเกิดจากการคูณความยาวของด้านสองด้านเข้าด้วยกัน เมื่อนำความยาวยกกำลัง 2 จะได้กลายเป็นหน่วยวัดพื้นที่ ที่บอกขนาดของพื้น

กล่าวคือ หน่วยวัดพื้นที่ เกิดจากการนำ หน่วยวัดความยาว มาคูณกันสองครั้ง ตัวอย่างเช่น

  • ตารางเมตร = เมตร x เมตร
  • ตารางเซนติเมตร = เซนติเมตร x เซนติเมตร

ถามว่าทำไมต้องเป็นสองครั้ง? ลองนึกภาพสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว 1 เมตร ทั้งสี่ด้าน เพื่อหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยมนี้ เราจะนำความยาวด้านหนึ่ง (1 เมตร) คูณกับความยาวอีกด้านหนึ่ง (1 เมตร) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 1 ตารางเมตร

การแปลงหน่วย เมื่อเราต้องการแปลงหน่วยวัดความยาวให้เป็นหน่วยวัดพื้นที่ เราจะต้องทำการคูณหน่วยวัดความยาวนั้นด้วยตัวมันเองอีกครั้ง

  • 2 เมตร x 2 เมตร = 4 ตารางเมตร
  • 5 เซนติเมตร x 5 เซนติเมตร = 25 ตารางเซนติเมตร

โดยหน่วยวัดพื้นที่ที่พบบ่อย ได้แก่

  • ตารางเมตร (ตร.ม.) : หน่วยวัดพื้นที่ที่ใช้กันทั่วไป
  • ตารางเซนติเมตร (ตร.ซม.) : ใช้สำหรับวัดพื้นที่ขนาดเล็ก
  • ตารางกิโลเมตร (ตร.กม.) : ใช้สำหรับวัดพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น พื้นที่ของประเทศ
  • ตารางวา : หน่วยวัดพื้นที่ที่ใช้ในประเทศไทย