เงื่อนขัดสมาธิ เป็นเงื่อนเชือกที่นิยมใช้ในการต่อเชือกที่มีขนาดต่างกันหรือมีความแข็งที่ไม่เท่ากันให้แข็งแรง ทนทาน และรับน้ำหนักได้ดี โดยจะเป็นการผูกโดยใช้เส้นที่ใหญ่กว่าหรือแข็งกว่าทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กหรือเส้นที่อ่อนกว่าเป็นเส้นพันขัดสมาธิ
เงื่อนขัดสมาธิ (Sheet Knot ในภาษาอังกฤษ) รู้จักกันในอีกชื่อคือ เงื่อนหัก
วิธีผูกเงื่อนขัดสมาธิ
ตามที่อธิบายในตอนแรกว่าเงื่อนขัดสมาธิจะใช้เชือกที่มีเส้นใหญ่กว่าหรือเส้นที่แข็งกว่าทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กหรือเส้นที่อ่อนกว่าเป็นเส้นพันขัดสมาธิ
ทั้งนี้ ส่วนมากการผูกเงื่อนขัดสมาธิในไทยมักจะบังคับว่า เงื่อนขัดสมาธิที่ถูกต้องจะต้องมีปลายเชือกอยู่ทางเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติและในวิธีการตามแบบสากลไม่ได้มีการจำกัดว่าจะอยู่ข้างเดียวกันหรือต่างข้างกันแต่อย่างใด
ในกรณีการผูกเงื่อนขัดสมาธิที่ปลายเชือกอยู่ทางเดียวกันอยู่ข้างเดียวกัน ควรเหลือปลายเชือกเล็กให้ยาวเล็กน้อยเพื่อช่วยให้แน่นขึ้นเนื่องจากเป็นการกันปมรูดออก
วิธีแก้เงื่อนขัดสมาธิ สามารถทำได้โดยดึงปลาย a, b แยกออกจากกัน ดึงจนเป็นเส้นตรงเดียวกัน แล้วรูดปลายออกจากปลาย a หรือ b
วิธีผูกเงื่อนขัดสมาธิ 2 ชั้น
เงื่อนขัดสมาธิ 2 ชั้น เหมาะสมสำหรับการต่อเชือกซึ่งมีขนาดไม่เท่ากัน โดยเอาเส้นที่อ่อนกว่าหรือเส้นที่เล็กกว่าพันเส้นที่แข็งหลายๆ รอบ แล้วจึงผูกขัดสมาธิ
เงื่อนขัดสมาธิ ประโยชน์
เงื่อนขัดสมาธิ มีประโยชน์อย่างยิ่งกับการใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน (หรือใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากันก็ได้) และเชือกหรือวัตถุที่มีความแข็งไม่เท่ากัน เช่น ตอก และเถาวัลย์ โดยใช้เส้นใหญ่หรือเส้นที่แข็งกว่าทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กหรือเส้นที่อ่อนกว่าเป็นเส้นพันขัดสมาธิ
โดยประโยชน์ของเงื่อนขัดสมาธิมีดังนี้
- ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน เช่น เชือกไนลอนกับเชือกป่าน เชือกเหล็กกับเชือกไนลอน เป็นต้น
- ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากัน เช่น เชือกไนลอนกับเชือกไนลอน เชือกป่านกับเชือกป่าน เป็นต้น
- ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน เช่น เชือกไนลอนกับเชือกป่าน เชือกเหล็กกับเชือกไนลอน เป็นต้น
- ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
- ใช้ผูกเชือกกับสิ่งที่มีลักษณะเป็นขอหรือหูอยู่แล้ว เช่น ธงชาติ
- ใช้ต่อเส้นด้าย เส้นไหมทอผ้า
จากการที่เงื่อนขัดสมาธิเป็นเงื่อนที่ผูกง่าย แข็งแรง และทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้ดี จึงทำให้เงื่อนขัดสมาธินิยมใช้ในงานต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้าง งานการเกษตร งานประมง และงานเดินป่า
วิธีผูกเงื่อนอื่น ๆ ทั้งหมดมากกว่า 20 แบบ
- เงื่อนพิรอด
- เงื่อนกระหวัดไม้
- เงื่อนผูกร่น หรือ เงื่อนทบเชือก
- เงื่อนตะกรุดเบ็ด
- เงื่อนขัดสมาธิ หรือ เงื่อนหัก
- เงื่อนบ่วงสายธนู
- เงื่อนประมง
- เงื่อนเลข 8 หรือ ปมตาไก่
- เงื่อนผูกซุง
- เงื่อนผูกรั้ง
- เงื่อนเก้าอี้
- เงื่อนขโมย
- เงื่อนผูกกระดาน
- เงื่อนยายแก่
- เงื่อนผูกแน่น
- การผูกประกบ
- การผูกทแยง
- การผูกกากบาท
- การผูกตอม่อสะพาน