ลูกเสือสามัญ คือ ลูกเสือที่มีอายุ 11-16 ปี หรือ ลูกเสือสามัญ ป.4 – ป.6 โดยเด็กที่เข้าเป็นลูกเสือสามัญอาจเป็นได้ทั้งผู้ที่เลื่อนขึ้นมาจากลูกเสือสำรอง (ป.3) หรือเป็นผู้ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคณะลูกเสือแห่งชาติก็ได้
คำว่า ลูกเสือ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 จะหมายความว่า “เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่า เนตรนารี”
ในบางกรณีอาจรับเด็กที่มีอายุไม่ถึง 11 ปีเข้าเป็นลูกเสือสามัญ แต่ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 10 ปี 6 เดือน ทั้งนี้ให้อยู่กับดุลยพินิจของผู้กำกับลูกเสือสามัญ
โดยวัตถุประสงค์และเป้าหมายของลูกเสือสามัญ คือ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ ศีลธรรม โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฝึกอบรมที่ต่อเนื่องกันกับเด็กในวัยต่างๆ ที่อยู่ในขบวนการลูกเสือ ซึ่งแผนการฝึกอบรมจะมีระดับสูงขึ้นตามวัย
เนตรนารีสามัญ คืออะไร?
เนตรนารีสามัญ คือ ลูกเสือที่เป็นหญิงที่มีอายุระหว่าง 11-16 ปี หรือ เนตรนารีสามัญ ป.4 – ป.6 โดยเด็กที่เข้าเป็นเนตรนารีสามัญอาจเป็นได้ทั้งผู้ที่เลื่อนขึ้นมาจากเนตรนารีสำรอง (ป.3) หรือเป็นผู้ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคณะลูกเสือแห่งชาติก็ได้
เนื่อด้วยคำว่า “ลูกเสือ” จะหมายความรวมถึง “เนตรนารี” ตามนิยามของคำว่า “ลูกเสือ” พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551
ดังนั้นแล้ว เงื่อนไขอื่นๆ ของเนตรนารีสามัญจึงไม่ต่างจากลูกเสือสามัญ ไม่ว่าจะเป็น การเข้ารับเป็นเนตรนารีสามัญ กองเนตรนารีสามัญ แผนการฝึกอบรมเนตรนารีสามัญ เหล่าของเนตรนารีสามัญ ชั้นของเนตรนารีสามัญ (ตรี โท เอก) และวิชาพิเศษของเนตรนารีสามัญ
ในขณะสิ่งที่แตกต่างจะมีเพียงรายละเอียดปลีกย่อย อย่างเช่น เครื่องแบบนตรนารีสามัญที่การแต่งกายชุดเนตรนารีสามัญจะแตกต่างจากการแต่งการชุดลูกเสือสามัญ และเครื่องหมายบนเครื่องแบบเนตรนารีสามัญ และชื่อหมู่เนตรนารีสามัญ เป็นต้น
หลักสูตรลูกเสือสามัญ
หลักสูตรลูกเสือสามัญ และ เนตรนารีสามัญ จะแบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ลูกเสือตรี ลูกเสือโท และ ลูกเสือเอก โดยหลักสูตรลูกเสือสามัญแต่ละชั้นจะมีหลักสูตรโดยย่อ ดังต่อไปนี้
ลูกเสือตรี
- ความรู้เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือ
- คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือสามัย
- กิจกรรมกลางแจ้ง
- ระเบียบแถว
เมื่อสอบวิชาตามหลักสูตรลูกเสือตรีได้แล้ว จึงได้เข้าพิธีประจำกอง และให้ได้รับการฝึกอบรมชั้นลูกเสือโทต่อไป
ลูกเสือโท
- การรู้จักดูแลตนเอง
- การช่วยเหลือผู้อื่น
- การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ
- ทักษะในทางวิชาลูกเสือ
- งานอดิเรกและเรื่องที่สนใจ
- คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
- ระเบียบแถว
ลูกเสือเอก
- การพึ่งตนเอง
- การบริการ
- การผจญภัย
- วิชาช่างของลูกเสือ
- ระเบียบแถว
วิชาพิเศษลูกเสือสามัญ
หลักสูตรลูกเสือสามัญ (และเนตรนารีสามัญ) กำหนดให้มีวิชาพิเศษลูกเสือสามัญเป็นวิชาเลือกทั้งหมด 54 วิชา
ลูกเสือสามัญ ที่ได้ขึ้นลูกเสือเอกมาแล้วและสามารถสอบวิชาพิเศษลูกเสือสามัญได้ 6 วิชา โดยที่มีวิชาพิเศษในหมวด ก. รวมอยู่ด้วย 1 วิชา และวิชาในหมวด ข. รวมอยู่ด้วย 1 วิชา จะสามารถประดับสายยงยศลูกเสือ เนตรนารี สามัญ
- หมวด ก. นักผจญภัยในป่า, นักสำรวจ, นักบุกเบิก
- หมวด ข. ชาวค่าย, ผู้ประกอบอาหารในค่าย, นักธรรมชาติศึกษา, นักดาราศาสตร์เบื้องต้น และนักอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิชาพิเศษลูกเสือสามัญ 54 วิชา