เงื่อนผูกทแยง วิธีผูกและการใช้ประโยชน์

เมื่อ

โดย

เงื่อนผูกทแยง วิธีผูกและการใช้ประโยชน์

เงื่อนผูกทแยง คือ เงื่อนที่มีลักษณะเป็นเชือกพันรอบเสา 2 ต้นในแนวทแยงในลักษณะรูป X โดยเงื่อนผูกทแยงเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์ในการค้ำยันป้องกันการล้ม ทำให้เงื่อนมักจะพบได้ในงานก่อนสร้าง

การใช้ประโยชน์หลักของ เงื่อนผูกทแยง (Diagonal Lashing) เป็นเทคนิคในการผูกเงื่อนที่ใช้ในการมัดหรือผูกวัตถุสองชิ้นหรือมากกว่าด้วยกันอย่างแน่นหนา โดยไม่ให้เงื่อนคลายตัวออกมาได้ง่าย มักถูกใช้ในกิจกรรมกลางแจ้ง การเดินป่า การปีนเขา และการใช้งานที่ต้องการเงื่อนที่แข็งแรงและมั่นคง

เงื่อนผูกทแยง จึงมักจะเป็นการใช้ในการทำตอม่อสะพาน การทำนั่งร้าน ทาสีอาคาร ยึดเสาป้องกันการล้ม ตลอดจนการสร้างค่ายพักแรม

วิธีผูกเงื่อนผูกทะแยง

การผูกเงื่อนผูกทแยงแบบคร่าวๆ เป็นการผูกไม้ให้ติดกันเป็นรูปตัว X โดยใช้กลางเชือกพันขึ้นต้นด้วยเงื่อนผูกซุง จากนั้นให้พันเชือกให้ทแยงมุมไขว้กันในมุมตรงกันข้าม และลำดับสุดท้ายผูกจบด้วยเงื่อนพิรอดที่ไม้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งแล้วหักคอไก่

ลำดับ วิธีการผูกเงื่อนผูกทแยง

ขั้นตอนวิธีการผูกเงื่อนผูกทแยง

  1. เริ่มจากพันเชือกรอบเสาทั้ง 2 ต้น ตรงระหว่างมุมตรงข้ามด้วยเงื่อนผูกซุง (อาจเริ่มจากฝั่งใดก่อนก็ได้)
  2. จากนั้นพันเชือกกับไม้เสาทั้ง 2 ต้น ในมุมตรงข้ามคู่แรก (มุมทแยง) ประมาณ 3 รอบให้ตึง
  3. แล้วดึงเชือกพันเปลี่ยนมุมตรงข้ามคู่ที่ 2 อีก 3 รอบ
  4. สุดท้ายดึงเชือกพันหักคอไก่ (พันรอบเชือกระหว่างไม้เสาทั้งสอง) สัก 2 ถึง 3 รอบ พันเสร็จเอาปลายเชือกผูกตะกรูดเบ็ดทีไม้เสาต้นใดต้นหนึ่ง
  5. เก็บซ่อนปลายเชือกให้เรียบร้อย

ในการใช้เงื่อนผูกแยง ควรเลือกชนิดเงื่อนให้เหมาะสมกับงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโครงสร้างที่ไม่มั่นคง ควรผูกเงื่อนให้แน่นมากพอแต่ไม่แน่นจนทำให้เชือกขาดหรือชำรุด และหมั่นตรวจเช็กความแน่นหนาของเงื่อนเป็นประจำหากต้องใช้งานต่อเนื่องเป็นเวลานานเพื่อป้องกันการคลายตัว หรือป้องกันเชือกที่ยึดโครงสร้างขาดหรือหลุดออกจากเสา ซึ่งอาจจะนำไปสู่อุบัติเหตุได้

ประโยชน์ของเงื่อนผูกทะแยง

ประโยชน์หลักของเงื่อนผูกทแยง (Diagonal Lashing) คือ การผูกเงื่อนที่ใช้ในการมัดหรือผูกวัตถุสองชิ้นหรือมากกว่าด้วยกันอย่างแน่นหนา ดังนั้นแล้วการผูกทะแยงจึงมักจะใช้เพื่อประโยชน์ ดังนี้

  • ยึดติดวัตถุให้แน่น: เงื่อนผูกแยงช่วยให้วัตถุที่ถูกผูกติดกันมีความแข็งแรงและมั่นคง ไม่หลุดออกจากกัน
  • กระจายแรง: เมื่อมีแรงกระทำต่อโครงสร้างที่ถูกผูกด้วยเงื่อนผูกแยง แรงนั้นจะถูกกระจายไปตามเส้นเชือก ทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรงทนทาน
  • ปรับเปลี่ยนรูปทรง: เงื่อนผูกแยงสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงของโครงสร้างได้ตามต้องการ เช่น การทำโครงหลังคาโค้งหรือมุมฉาก