วิธีเก็บเชือกลูกเสือ คือการม้วนเชือกลูกเสือเป็นแท่งเพื่อเก็บเชือกลูกเสือ ซึ่งการม้วนเก็บเชือกลูกเสือสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการพันเป็นวงกลม ขดเชือกเป็นเลข 8 และการม้วนเป็นแท่ง
โดยวิธีเก็บเชือกลูกเสือด้วยการพันเป็นวงกลมจะเริ่มจากการพับเชือกครึ่งหนึ่งตามแนวยาว จากนั้นจับปลายเชือกทั้งสองข้างม้วนเป็นวงกลม โดยให้ส่วนที่พับอยู่ด้านนอก จากนั้นพันเชือกต่อไปเรื่อย ๆ จนสุดปลาย แล้วสอดปลายเชือกเข้าไปในห่วงที่เกิดจากการพัน เพื่อล็อคไม่ให้เชือกคลายออก
และการการขดเชือกเป็นเลข 8 จะเป็นวิธีเก็บเชือกลูกเสือที่ทำได้โดยการจับปลายเชือกข้างหนึ่งไว้ในมือ แล้วขดเชือกเป็นเลข 8 โดยให้แต่ละวงซ้อนทับกัน เมื่อขดจนสุดปลายแล้วให้สอดปลายเชือกที่เหลือเข้าไปในห่วงที่เกิดจากการขดเพื่อล็อคเชือก
การเก็บเชือกลูกเสือ ด้วยการม้วนเป็นแท่ง
วิธีเก็บเชือกลูกเสือ ด้วยการม้วนเป็นแท่ง เป็นวิธีเก็บเชือกที่ใช้ในการเก็บเชือกลูกเสือที่ยาวไม่มาก ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 เมตร โดยเป็นการจับปลายเชือกม้วนเป็นแท่งกลมยาวไปเรื่อยๆ จนสุดความยาวเชือก แล้วนำปลายเชือกที่เหลือพันรอบแท่งเชือกที่ม้วนไว้
ขั้นที่ 1 เริ่มจากแบ่งเชือกออกเป็น 8 ส่วน แล้วจับเชือกทบเป็น 3 ทบ โดยแต่ละทบให้เชือกยาว 1 ใน 8 ส่วน ส่วนเชือกที่เหลืออีก 5 ใน 8 ส่วน ปล่อยไว้สำหรับการพัน
ขั้นที่ 2 นำเชือก 5 ใน 8 ส่วนที่เหลือพันรอบเชือกที่ทบไว้ในขั้นตอนแรก โดยเริ่มพันถัดจากปลายบ่วง (ด้านขวาในภาพ) เข้ามาประมาณ 1 นิ้ว แล้วเมื่อพันจบจยเหลือปลายเชือก ให้สอดปลายเชือกเข้าไปในบ่วง
ขั้นที่ 3 เมื่อพันเชือกจนหมดถึงด้านท้ายแล้ว สอดปลายเชือกเข้าห่วงที่ด้านท้ายแล้วดึงให้แน่นเพื่อป้องกันการหลุดของเชือก โดยดึงบ่วงด้านขวาเพื่อรั้งบ่วงด้านท้าย (ในภาพ) ให้รัดปลายเชือกที่สอดไว้ให้แน่นไม่หลุดง่าย

ซึ่งวิธีนี้เป็นการขดเชือกและพันทบเพื่อใช้ร้อยกับเข็มขัดลูกเสือหรือเข็มขัดเนตรนารี ซึ่งสามารถทำได้โดยการแบ่งเชือกออกเป็น 2 ส่วนให้เท่ากัน แล้วนำเชือกครึ่งหนึ่ง (จากที่แบ่ง) ทบเป็น 3 ทบ จากนั้นนำเชือกอีกครึ่งที่เหลือพันรอบเชือกไปเรื่อยๆ จากต้นไปหาท้ายโดยเหลือรูห่วงสำหรับร้อยเข็มขัดตามที่ต้องการ
การเก็บเชือกลูกเสือด้วยการขด
นอกจาก วิธีเก็บเชือกลูกเสือด้วยการพับทบเพื่อร้อยเข็มขัดลูกเสือเนตรนารี อีกหนึ่งวิธีเก็บเชือกลูกเสือยังสามารถทำได้โดยการขดเชือกในลักษณะเดียวกันกับการเก็บสายยางรดน้ำต้นไม้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการนำปลายเชือกพันทบไปมากับข้อศอกและมือจนเหลือปลายเชือกประมาณ 2 ฟุต จากนั้นดึงเชือกออกจากศอกแล้วใช้ปลายเชือกที่เหลืออยู่มัดกึ่งกลางม้วนเชือก
การรักษาเชือก
การรักษาเชือกมีประโยชน์อย่างยิ่งในการรักษาสภาพการใช้งานของเชือกและทำให้เชือกอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานโดยไม่มีความเสียหาย โดยการเก็บรักษาเชือกของลูกเสือมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
- รักษาเชือกให้แห้งเสมออย่าให้เปียกชื้น เพื่อป้องกันเชื้อรา
- เก็บให้ห่างไกลจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น มด แมลง หนู หรือสัตว์อื่น ซึ่งการแขวนช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้มากกว่าการวางไว้กับพื้น
- ไม่ใช้เชือกผูกรั้ง เหนี่ยว ยึด หรือลากเกินกำลังของเชือก
- การใช้งานเชือกควรระวังการครูดหรือการเสียดสีกับของแข็งหรือของมีคมโดยตรง เนื่องจากอาจทำให้เกลียวเชือกสึกและขาดง่าย หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใช้กระสอบหรือผ้าพันรอบสิ่งของเหล่านั้นก่อน
- ควรล้างเชือกด้วยน้ำจืดให้สะอาดล้วผึ่งให้แห้ง หากเชือกเลอะโคลนหรือถูกน้ำเค็ม
- ปลายเชือกที่ถูกตัดควรนำเชือกที่มีขนาดเล็กพันปลายเชือกเพื่อป้องกันเชือกคลายเกลียว
ข้อควรระวังในการเก็บรักษาเชือก
เชือกเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในกิจกรรมลูกเสือหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การผูกเงื่อน การสร้างฐานผจญภัย การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการดำรงชีวิตในป่า การดูแลรักษาเชือกให้มีสภาพพร้อมใช้งาน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกเสือทุกคนพึงตระหนัก นอกเหนือจากวิธีเก็บเชือกลูกเสือที่ถูกต้องแล้ว ยังมีข้อควรระวังในการเก็บรักษาเชือก ดังนี้
- เก็บในที่แห้งและร่ม: ควรเก็บเชือกในที่แห้ง ไม่อับชื้น และป้องกันแสงแดด เพื่อป้องกันเชื้อรา และการเสื่อมสภาพจากรังสี UV หากเชือกเปียกชื้น ควรตากให้แห้งสนิทก่อนเก็บ ไม่ควรเก็บเชือกไว้ในที่ที่มีความชื้นสูง เช่น ในห้องน้ำ หรือในที่ที่มีน้ำขัง
- ทำความสะอาดเชือก: ก่อนเก็บเชือก ควรทำความสะอาดเชือกให้สะอาด โดยเฉพาะเชือกที่เปื้อนดินหรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ
- หลีกเลี่ยงสารเคมี: ไม่ควรสัมผัสเชือกกับสารเคมี เช่น น้ำมัน กาว หรือสารทำความสะอาด เพราะสารเคมีเหล่านี้อาจนำไปสู่ความเสียหายต่อเชือกหรืออายุการใช้งานที่สั้นลง
- ระวังสัตว์กัดแทะ: ควรเก็บเชือกในภาชนะที่ปิดมิดชิด หรือแขวนไว้ในที่สูง เพื่อป้องกันหนู แมลง หรือสัตว์อื่น ๆ กัดแทะเชือก ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายและอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
- ตรวจสอบสภาพเชือกก่อนใช้งาน: ทุกครั้งก่อนนำเชือกไปใช้งาน ควรตรวจสอบสภาพของเชือกเป็นประจำ หากพบว่าเชือกมีรอยขาด หรือมีส่วนที่สึกหรอ ควรเปลี่ยนเชือกใหม่ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อนำเชือกที่อาจเสียหายหรือมีความเสี่ยงต่อการเสียหายไปใช้
- หลีกเลี่ยงความร้อน: ไม่ควรเก็บเชือกไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ใกล้เตาไฟ หรือในรถยนต์ที่จอดตากแดด
กล่าวคือ ข้อระวังที่สำคัญของการเก็บเชือกลูกเสือ คือ หากเชือกเปียกควรตากให้แห้งก่อนเก็บเพื่อป้องกันเชื้อรา และควรเก็บเชือกในที่แห้งและเย็นเพื่อยืดอายุการใช้งานของเชือกและป้องกันเชือกขาดเมื่อนำไปใช้จริงซึ่งนำไปสู่อันตรายจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
การเก็บรักษาเชือกลูกเสือที่ถูกต้อง ยังมีประโยชน์ที่สำคัญดังนี้
- เพื่อยืดอายุการใช้งาน: เชือกที่เก็บรักษาอย่างถูกวิธี จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ลดการสึกหรอ และคงความแข็งแรง ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำไปใช้งาน
- ป้องกันอันตราย: เชือกที่ชำรุด อาจขาดหรือหลุดง่าย ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน โดยเฉพาะในกิจกรรมที่ต้องรับน้ำหนัก หรือโรยตัวจากที่สูง
- รักษาคุณภาพเชือก: การเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น โดนความชื้น แสงแดด สารเคมี หรือถูกสัตว์กัดแทะ จะทำให้เชือกเสื่อมสภาพเร็ว
- ประหยัดค่าใช้จ่าย: การดูแลรักษาเชือก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเชือกใหม่ และลดการสูญเสียทรัพยากร