ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ คืออะไร?

เมื่อ

โดย

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ คือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ คือ ภาษาอังกฤษ

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ คือ ลูกเสือที่มีอายุระหว่าง 14 – 18 ปี หรือกําลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา โดยเด็กที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะเคยเป็นลูกเสือหรือไม่เคยเป็นลูกเสือมาก่อนก็ได้ ส่วนเด็กหญิงให้สมัครเป็นเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่และมีความหมายรวมถึงลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ด้วย

กล่าวคือ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เป็นลูกเสือ ม.1, ลูกเสือ ม.2 และ ลูกเสือ ม.3 ที่เป็นลูกเสือที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

โดยในบทความนี้จะอ้างอิงจาก ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2528 และครอบคลุมถึงเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ด้วย

การเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

การสมัครเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เด็กจะสามารถสมัครเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 15 ปี และไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ หรือกําลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษา ในบางกรณีอาจรับเด็กเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ก่อนอายุถึง 15 ปี ก็ได้ แต่ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 14 ปี 6 เดือน

ส่วนลูกเสือสามัญที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้วอาจเป็นลูกเสือสามัญต่อไปได้ แต่ต้องอายุไม่เกิน 15 ปี 6 เดือน ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้กํากับลูกเสือ สามัญและผู้กํากับกลุ่มพิจารณาถึงการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็ก นายหมู่ลูกเสือสามัญที่มีอายุเกิน 15 ปี ซึ่งแยกไปสังกัดในหมู่หรือกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่อาจดํารงตําแหน่งนายหมู่ลูกเสือสามัญในกองเดิมต่อไปได้จนมีอายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้กํากับกลุ่ม

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ควรออกจากกองลูกเสือเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้กํากับกลุ่มหรือผู้กํากับลูกเสือสามัญให้คงอยู่ต่อไป แต่เมื่ออายุครบ 18 ปีบริบูรณ์แล้วจะอยู่ในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ไม่ได้

โดยเด็กที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะเคยเป็นลูกเสือหรือไม่เคยเป็นลูกเสือมาก่อนก็ได้

สำหรับเด็กหญิงให้สมัครเป็นเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ และในข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2528 ทุกแห่งที่มีคําว่าลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ให้หมายความรวมถึง เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ด้วย

โดยการเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เมื่อลูกเสือสอบวิชาลูกเสือเอกได้ หรือทดสอบตามหลักสูตรวิชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นต้นได้แล้ว จึงจะได้เข้าพิธีประจํากองและรับเข้าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และเมื่อได้เข้าพิธีประจํากองแล้ว ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะได้รับการอบรมและสอบเพื่อรับ เครื่องหมายต่อไปนี้

  1. เครื่องหมายลูกเสือเอก (เฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้เป็นลูกเสือเอก)
  2. เครื่องหมายวิชาพิเศษต่าง ๆ และเครื่องหมายสายยงยศ (สายหนัง) เครื่องหมายชาวเรือ เครื่องหมายการบิน ตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือ ทั้งนี้แล้วแต่จะเลือกเรียน (โดยจะต้องได้ลูกเสือเอกก่อน)
  3. เครื่องหมายลูกเสือหลวง

ผู้ที่เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะต้องพยายามฝึกอบรมตนเอง เพื่อรับเครื่องหมายต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. เครื่องหมายลูกเสือโล
  2. เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
  3. เครื่องหมายลูกเสือหลวง
  4. เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

เครื่องหมายลูกเสือโลก เป็นเครื่องหมายขั้นต้นสําหรับผู้ที่เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ เป็นการเตรียม พร้อมที่จะรับความรู้ขั้นสูงต่อไป เมื่อสอบได้แล้วให้ทําพิธีเข้าประจํากอง ผู้สมัครใหม่ควรจะสอบได้เครื่องหมายลูกเสือโลกภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันสมัคร และเมื่อได้เข้าพิธีประจํากองเรียบร้อยแล้ว จึงนับว่าเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่โดยสมบูรณ์ มีสิทธิประดับเครื่องหมายลูกเสือโลกที่กึ่งกลางกระเป๋าเสื้อข้างซ้ายได้

ผู้ที่ผ่านการสอบและได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลกแล้ว ควรพยายามฝึกอบรมตนเองเพื่อรับเครื่อง หมายลูกเสือชั้นพิเศษ และเครื่องหมายลูกเสือหลวงต่อไปตามลําดับ นอกจากนั้น จะเลือกเรียนวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่ตนสนใจก็ได้

เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ และเครื่องหมายลูกเสือหลวง มีวิชาพื้นฐาน 4 วิชาเหมือนกันแต่ต่าง ระดับกันคือ หลักสูตรลูกเสือหลวงมีระดับสูงกว่าระดับลูกเสือชั้นพิเศษวิชาพื้นฐาน 8 วิชาสําหรับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ และเครื่องหมายลูกเสือหลวง มีดังนี้:

  1. หน้าที่พลเมือง (Citizenship)
  2. สิ่งแวดล้อม (Environment)
  3. การเดินทางสํารวจ (Expedition)
  4. การแสดงออกทางศิลปะ (Expression in the Arts)
  5. สมรรถภาพทางกาย (Fitness)
  6. อุดมคติ (Ideals)
  7. กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ (Pursuits)
  8. บริการ (Service)

โดยปกติลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ควรจะสอบได้เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษภายในระยะเวลา 1 ปี ภายหลังที่ได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลก และเข้าพิธีประจํากองเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่โดยสมบูรณ์แล้ว

กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ประกอบด้วยหมู่ลูกเสืออย่างน้อย 2 หมู่ ไม่เกิน 5 หมู่ หมู่หนึ่งมีลูกเสือ 4 – 8 คน รวมทั้งนายหมู่และรองนายหมู่ด้วย หมู่เป็นหน่วยในการจัดกิจกรรมทั้งปวงตามแนวที่คณะกรรมการดําเนินงานของกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่กําหนด

ผู้กํากับเป็นผู้แต่งตั้งนายหมู่โดยหารือลูกเสือในหมู่นั้น ส่วนรองนายหมู่ให้ผู้กํากับแต่งตั้งโดยหารือนายหมู่ของหมู่นั้น

ในกรณีที่มีกิจกรรมพิเศษอาจจัดลูกเสือขึ้นเป็นชุดหรือหน่วยพิเศษได้ กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่มีลูกเสือประเภทเดียวตั้งแต่ 4 กองขึ้นไป อาจจัดเป็นกลุ่มหรือจะจัดเป็นกองในกลุ่มลูกเสือที่มีลูกเสือประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยก็ได้

ผู้กํากับและรองผู้กํากับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

กองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่มีผู้กํากับ 1 คนเป็นหัวหน้า และมีรองผู้กํากับ 1 คน หรือหลายคนเป็นผู้ช่วย มีหน้าที่รับผิดชอบในการฝึกอบรมลูกเสือตามหลักสูตรที่กําหนดไว้

ผู้กํากับและรองผู้กํากับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือตั้งแต่ผู้กํากับกลุ่มขึ้นไปหรือหัวหน้าสถานศึกษารับรองว่า
    • เป็นผู้มีลักษณะนิสัยดี และมีความประพฤติเรียบร้อยสมควรเป็นตัวอย่างที่ดีได้
    • เป็นผู้มีศาสนา และปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
    • เป็นผู้มีอาชีพเป็นหลักฐาน และไม่มีโรคซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
    • เป็นผู้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และวิธีการของลูกเสือ ฝักใฝ่สนใจต่อการลูกเสือ และสมัครใจจะดํารงตําแหน่งทางลูกเสือ
  • ผู้กํากับมีอายุไม่ต่ํากว่า 23 ปี รองผู้กํากับไม่ต่ํากว่า 21 ปี
  • เป็นผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่ถ้ามิได้มีสัญชาติไทยต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติก่อน
  • ผู้กํากับต้องผ่านการฝึกอบรมวิชาผู้กํากับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ขั้นความรู้เบื้องต้นมาแล้วเป็นอย่างน้อย

อนึ่ง ให้ผู้กํากับแต่งตั้งหัวหน้านายหมู่ 1 คน และผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ 1 – 3 โดยหารือนายหมู่ของ กองนั้น เพื่อให้ทําหน้าที่ช่วยเหลือในการดําเนินงานของกอง

การสอบวิชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ทุกวิชาให้หัวหน้าสถานศึกษา หรือสโมสรลูกเสือ เป็นผู้ดําเนินการสอบ โดยแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นกรรมการสอบ และเมื่อทําการสอบเครื่องหมายลูกเสือโลก เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ เครื่องหมายลูกเสือหลวง หรือเครื่องหมายวิชาพิเศษแล้ว ให้รายงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ หรือผู้อํานวยการลูกเสือจังหวัด ผู้อํานวยการลูกเสืออําเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติผลการสอบและประดับเครื่องหมายนั้นๆ ได้

คณะกรรมการดําเนินงานของกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

คณะกรรมการดําเนินงานประกอบด้วย หัวหน้านายหมู่เป็นประธาน ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่เป็นรอง ประธาน และให้นายหมู่ รองนายหมู่ในกองนั้นเลือกกันเองเป็นกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่น เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม กรรมการกีฬา กรรมการนันทนาการ กรรมการกลาง ฯลฯ แล้วนําเสนอผู้กํากับพิจารณาอนุมัติและสั่งแต่งตั้ง

คณะกรรมการดําเนินงาน ให้อยู่ในตําแหน่งไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติ งานในตําแหน่งหัวหน้านายหมู่ ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ และกรรมการดําเนินงานของกองบ้าง แต่ในบางกรณีที่ประชุมนายหมู่อาจเสนอให้ผู้กํากับพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานชุดเดิมให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอีก หรือจะให้มีการเปลี่ยนแปลงแต่บางตําแหน่งก็ได้

ให้มีการประชุมคณะกรรมการดําเนินงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง ในการประชุมให้หัวหน้านายหมู่ เป็นประธานที่ประชุม ผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่เป็นรองประธาน เลขานุการเป็นผู้จดรายงานการประชุม ส่วนผู้ บังคับบัญชาลูกเสือที่เข้าประชุมด้วยให้ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการดาเนินงานของกองมีหน้าที่ดังนี้

  1. วางแผนและจัดรายงานกิจกรรมประจําของกองลูกเสือ
  2. ในกรณีที่มีกิจกรรมพิเศษ อาจพิจารณาแต่งตั้งลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในกองคนหนึ่งให้เป็นหัวหน้ากิจกรรมนั้น
  3. บริหารกิจการภายในกองลูกเสือ
  4. รักษาเกียรติของกองลูกเสือ
  5. ควบคุมการรับจ่ายเงินของกองลูกเสือ
  6. ให้ประธานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนของกอง ในการติดต่อกับบุคคลภายนอก
  7. การฝึกอบรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่