เงื่อนผูกรั้ง เป็นเงื่อนสำหรับการผูกรั้งตามชื่อ ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่สามารถเลื่อนเงื่อนให้ตึงหรือหย่อนได้ตามความต้องการ ทำให้เงื่อนผูกรั้งเหมาะกับการผู้รั้งตามชื่อ หรือหรือใช้สำหรับผูกกับห่วงต่างๆ เนื่องจากเงื่อนนี้เลื่อนให้ตึงหรือหย่อนได้
โดยเงื่อนผูกรั้ง เป็นเงื่อนพื้นฐานที่สำคัญมากในกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การตั้งแคมป์ เดินป่า หรือการปีนเขา รวมถึงพบได้บ่อยในกิจกรรมลูกเสือ เนื่องจากเป็นเงื่อนที่สามารถปรับความตึงได้ง่าย ทำให้เหมาะกับการยึดสิ่งของต่าง ๆ ให้แน่นหนา หรือใช้ในการรั้งวัตถุให้เคลื่อนที่ได้ตามต้องการ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งกับการผูกเสาเต็นท์ ผูกสมอบก ยึดเสาธงเพื่อกันล้ม และใช้รั้งต้นไม้
วิธีผูกเงื่อนผูกรั้ง
ขั้นตอนวิธีผูกเงื่อนผูกรั้งสามารถทำได้ด้วย 4 ขั้นตอน มีดังนี้
- คล้องปลายเชือกหนึ่งรอบวัตถุที่ต้องการผูก
- นำปลายเชือกที่คล้องไว้สอดเข้าไปในบ่วงเชือกที่คล้องไว้รอบวัตถุ
- ดึงปลายเชือกให้แน่น
- ดึงปลายเชือกด้านที่พันรอบวัตถุให้แน่น
เงื่อนผูกรั้ง ประโยชน์
เงื่อนผูกรั้ง (Tarbuck Knot) เป็นเงื่อนที่ใช้ผูกยึดกับสิ่งอื่น ซึ่งเป็นเงื่อนที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถปรับให้ตึงหรือหย่อนได้ตามความต้องการทำให้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการผูกรั้งให้ตึงตามความต้องการตามชื่อของเงื่อน
โดยการใช้ประโยชน์ของเงื่อนผูกรั้งที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้
- ผูกเสาเต็นท์
- เสาธงกันล้ม
- รั้งต้นไม้
- ใช้แทนเชือกรัดหรือเชือกผูก
- ใช้สำหรับผูกกับห่วงต่างๆ
- ใช้ผูกกับสมอบกหรือตะขอ
จะเห็นว่าเงื่อนผูกรั้งมีประโยชน์ที่สำคัญในการใช้ในกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ ในการผูกรั้งในขณะที่ปรับความตึงหรือหย่อนได้ตามต้องการ โดยจุดเด่นของเงื่อนผูกรั้งมีดังนี้
- ปรับความตึงได้ง่าย: เป็นจุดเด่นที่สำคัญที่สุดของเงื่อนผูกรั้ง ทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย
- แข็งแรงและทนทาน: เมื่อผูกถูกวิธี เงื่อนผูกรั้งจะมีความแข็งแรงและทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้มาก
- ง่ายต่อการคลาย: สามารถคลายเงื่อนได้ง่ายเมื่อต้องการใช้งานเงื่อนผูกรั้งเสร็จสิ้น
ข้อควรระวังสำหรับการใช้เงื่อนผูกรั้ง
- ตรวจสอบเชือกให้ดีก่อนการใช้งาน: ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบเชือกให้แน่ใจว่าไม่มีรอยขาดหรือชำรุด ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายจากการใช้งานเชือก
- ผูกเงื่อนให้แน่นหนา: ควรผูกเงื่อนให้แน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้เงื่อนหลุด ที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุแก่ผู้ใช้งาน
- เลือกขนาดเชือกให้เหมาะสม: ควรเลือกขนาดเชือกให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่ต้องรับหรือการใช้งานเงื่อน
- ฝึกฝนการผูกเงื่อนให้ชำนาญ: ควรฝึกฝนการผูกเงื่อนให้ชำนาญก่อนนำไปใช้งานจริง
วิธีผูกเงื่อนอื่น ๆ ทั้งหมดมากกว่า 20 แบบ
- เงื่อนพิรอด
- เงื่อนกระหวัดไม้
- เงื่อนผูกร่น หรือ เงื่อนทบเชือก
- เงื่อนตะกรุดเบ็ด
- เงื่อนขัดสมาธิ หรือ เงื่อนหัก
- เงื่อนบ่วงสายธนู
- เงื่อนประมง
- เงื่อนเลข 8 หรือ ปมตาไก่
- เงื่อนผูกซุง
- เงื่อนผูกรั้ง
- เงื่อนเก้าอี้
- เงื่อนขโมย
- เงื่อนผูกกระดาน
- เงื่อนยายแก่
- เงื่อนผูกแน่น
- การผูกประกบ
- การผูกทแยง
- การผูกกากบาท
- การผูกตอม่อสะพาน