เงื่อนประมง เป็นเงื่อนที่ใช้ในการต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกัน ซึ่งรู้จักกันทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า เงื่อนหัวล้านชนกัน เงื่อนประมงเป็นเงื่อนที่ผูกง่าย ทำได้รวดเร็ว และมีความแข็งแรงทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้สูง เหมาะสำหรับใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเท่าๆ กัน หรือเชือกที่มีขนาดเล็ก
โดยจุดเด่นของเงื่อนประมงคือใช้ได้ดีโดยเฉพาะเชือกที่มีเส้นเล็ก ไนลอน เอ็นตกปลา ทำให้เงื่อนประมง (Fisherman’s Knot) เป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการประมงและการตกปลาอย่างมาก
เงื่อนประมงมีประวัติยาวนาน เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยชาวประมงใช้เงื่อนนี้ในการต่อสายเบ็ดหรือสายเอ็นในการตกปลา เงื่อนประมงเป็นเงื่อนที่ผูกง่าย ทำได้รวดเร็ว และมีความแข็งแรงทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้สูง จึงได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวประมง
เงื่อนประมง รู้จักกันทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า เงื่อนหัวล้านชนกัน
วิธีผูกเงื่อนประมง
ขั้นตอน วิธีผูกเงื่อนประมง มีดังนี้
- นำเชือก 2 เส้นมาวางให้ปลายซ้อนกันในลักษณะดังภาพประกอบ
- ผูกปลายเส้นหนึ่งรอบเชือกอีกเส้นหนึ่ง
- ผูกเชือกเส้นที่เหลือรอบเชือกอีกเส้นหนึ่งเช่นเดียวกัน
- ดึงเชือกทั้งสองให้เงื่อนเลื่อนมาชนกัน
เงื่อนประมง ประโยชน์มีอะไรบ้าง
เงื่อนประมง (Fisherman’s Knot) มีประโยชน์หลักในการใช้ต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากัน ในขณะที่เป็นเงื่อนที่ทั้งผูกง่ายและแก้ง่าย และรับน้ำหนักได้ดี จึงหมาะกับการต่อเชือก หรือผูกเชือกติดกับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการลากจูง
ตัวอย่างการใช้เงื่อนประมงในชีวิตประจำวัน มีดังนี้
- ต่อเชือก 2 เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
- ใช้ต่อเชือกที่มีเส้นขนาดเล็กมากๆ เช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
- การผูกคอขวดสำหรับถือหิ้วขวดที่คอขวดที่มีขอบ
- ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดใหญ่เพื่อการลากจูง
- การต่อสายไฟฟ้า
ซึ่งจะเห็นว่าจุดเด่นของเงื่อนประมงคือการใช้ต่อเชือกในขณะที่สามารถแก้ได้ง่าย จึงเหมาะกับการใช้ผูกชั่วคราวเพื่อการลากจูง และการต่อสายเบ็ดหรือสายเอ็นในการตกปลาตามชื่อเงื่อนประมง
ข้อควรระวังสำหรับการใช้เงื่อนประมง
- ตรวจสอบเชือกให้ดีก่อนการใช้งาน: ก่อนการใช้งานควรตรวจสอบเชือกให้แน่ใจว่าไม่มีรอยขาดหรือชำรุด ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายจากการใช้งานเชือก ตลอดจนเลือกขนาดเชือกให้เหมาะสม
- ผูกเงื่อนให้แน่นหนา: ควรผูกเงื่อนให้แน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้เงื่อนหลุด ที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุแก่ผู้ใช้งาน เนื่องจากการผูกเงื่อนที่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้สายเกิดการเสียดสีหรือบิดตัว ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดของสายหรือการคลายของเชือกที่ต่อได้ได้
วิธีผูกเงื่อนอื่น ๆ ทั้งหมดมากกว่า 20 แบบ
- เงื่อนพิรอด
- เงื่อนกระหวัดไม้
- เงื่อนผูกร่น หรือ เงื่อนทบเชือก
- เงื่อนตะกรุดเบ็ด
- เงื่อนขัดสมาธิ หรือ เงื่อนหัก
- เงื่อนบ่วงสายธนู
- เงื่อนประมง
- เงื่อนเลข 8 หรือ ปมตาไก่
- เงื่อนผูกซุง
- เงื่อนผูกรั้ง
- เงื่อนเก้าอี้
- เงื่อนขโมย
- เงื่อนผูกกระดาน
- เงื่อนยายแก่
- เงื่อนผูกแน่น
- การผูกประกบ
- การผูกทแยง
- การผูกกากบาท
- การผูกตอม่อสะพาน